แกแล


ชื่อพื้นเมือง : แกก้อง (แพร่), แกล แหร (ภาคใต้), เข (นครราชสีมา), ช้างงาต๊อก (ลำปาง), น้ำเคียวโซ่ (ปัตตานี), แกแล สักขี เหลือง (ภาคกลาง), หนามเข (ประจวบคีรีขันธ์)


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Maclura cochinchinensis (Lour.) Corner


ชื่อวงศ์ : MORACEAE


ชื่อสามัญ : -


ลักษณะ: ไม้พุ่มรอเลื้อย หรือไม้เถาเนื้อแข็ง มียางสีเหลืองอ่อน ต้น กิ่ง และง่ามใบมีหนามแหลมแข็ง ปลายแหลม ตรง หรือโค้งเล็กน้อย ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรี ปลายแหลม หรือมน โคนแหลม ขอบเรียบ ดอกแยกเพศ อยู่ต่างต้น ช่อดอกเพศผู้เป็นช่อกระจะกลายๆ ส่วนช่อดอกเพศเมียเป็นช่อกระจุกแน่น ออกตามง่ามใบเป็นคู่ หรืออยู่เดี่ยวๆ ช่อดอกเพศผู้สีขาวนวล ดอกเล็กมาก กลีบรวม 4 กลีบ รูปไข่กลับ ด้านนอกกลีบมีขนสั้น เกสรเพศผู้ 4 อัน เล็กมาก ช่อดอกเพศเมียดอกเล็กมาก กลีบรวม 4 กลีบ โคนติดกัน ปลายแยก รังไข่อยู่ในฐานรองดอก ก้านเกสรเพศเมียเรียวยาวกว่า กลีบรวมเล็กน้อย ผลรวม ทรงกลม ทรงกลม ผิวขรุขระ เมล็ดเล็กมาก


ประโยชน์ : เนื้อไม้มีสีเหลือง ใช้ย้อมผ้า ใช้เป็นยาภายนอกเพื่อลดไข้ ในซาราวักใช้แกแลเป็นยาหลังคลอดบุตร


โทษ : -


ข้อมูลเพิ่มเติม