กรวย


ชื่อพื้นเมือง : กรวย กรวยน้ำ กรวยสวน (กรุงเทพมหานคร), กะเพราพระ เพราพระ (ชุมพร), จุมพร้า (นครศรีธรรมราช), ตุมพระ (สตูล, นครศรีธรรมราช), ยางู (สตูล), ตือระแฮ ระหัน หัน (ปัตตานี)


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Horsfieldia irya (Gaertn.) Warb.


ชื่อวงศ์ : MYRISTICACEAE


ชื่อสามัญ : -


ลักษณะ : ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 10-25 ม. โคนต้นเป็นพอน มักมีรากค้ำยัน (stilt root) บริเวณโคนต้น เมื่อสับเปลือกจะมียางใสสีแดงไหลออกมามาก ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานหรือรูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายแหลม โคนมนหรือแหลม ขอบเรียบ แผ่นใบด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีนวล ดอกแยกเพศ อยู่ร่วมต้น ออกเป็นช่อแยกแขนงตามง่ามใบ ช่อดอกเพศผู้แตกแขนงแผ่กว้างกว่าช่อดอกเพศเมีย ดอกมีจำนวนมาก ขนาดเล็กมาก สีเหลือง กลิ่นหอม ออกชิดกันแน่นเป็นกลุ่มๆ ตามแขนงช่อดอก ดอกเพศผู้มีเกสรเพศผู้ 6-10 อัน ดอกเพศเมียใหญ่กว่าดอกเพศผู้ ผลกลมเป็นผลมีเนื้อ ออกเป็นพวง พวงละ 2-5 ผล เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 ซม. ผนังผลหนา สุกสีส้มหรือแดงอมส้ม มี 1 เมล็ด เมล็ดแข็ง ขนาดใหญ่ สีน้ำตาลเข้ม เนื้อหุ้มเมล็ดสีแดงอมส้ม


ประโยชน์ : ชาวมาเลเซียใช้เปลือกต้มเป็นยากลั้วคอบำบัดอาการเจ็บคอ (Burkill, 1966)


โทษ : -


ข้อมูลเพิ่มเติม