กรวย
Horsfieldia irya (Gaertn.) Warb., MYRISTICACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 10-25 ม. โคนต้นเป็นพอน มักมีรากค้ำยัน (stilt root) บริเวณโคนต้น เรือนยอดแคบยาว ปลายกิ่งย้อยลู่ลง เปลือกเรียบหรือแตกเป็นร่องตื้นๆ เล็กน้อย สีน้ำตาลหรือเทา เมื่อสับเปลือกจะมียางใสสีแดงไหลออกมามาก ตามเปลือก และกิ่งมีช่องอากาศทั่วไป ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานหรือรูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 4-8 ซม. ยาว 15-25 ซม. ปลายแหลม โคนมนหรือแหลม ขอบเรียบ เส้นแขนงใบข้างละ 10-18 เส้น เป็นเส้นตรงขนานกัน ปลายเส้นโค้งขึ้นเลียบขอบใบ แผ่นใบด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีนวล ก้านใบยาว 0.5-1 ซม. ดอกแยกเพศ อยู่ร่วมต้น ออกเป็นช่อแยกแขนงตามง่ามใบ ยาว 10-16 ซม. มีขน ช่อดอกเพศผู้แตกแขนงแผ่กว้างกว่าช่อดอกเพศเมีย ดอกมีจำนวนมาก ขนาดเล็กมาก สีเหลือง กลิ่นหอม ออกชิดกันแน่นเป็นกลุ่มๆ ตามแขนงช่อดอก วงกลีบรวมติดกัน ส่วนบนแยกเป็น 2 กลีบ ดอกเพศผู้มีเกสรเพศผู้ 6-10 อัน ดอกเพศเมียใหญ่กว่าดอกเพศผู้ ผลกลมเป็นผลมีเนื้อ ออกเป็นพวง พวงละ 2-5 ผล เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 ซม. ผนังผลหนา สุกสีส้มหรือแดงอมส้ม ก้านผลยาว 0.8-1.1 ซม. มี 1 เมล็ด เมล็ดแข็ง ขนาดใหญ่ สีน้ำตาลเข้ม เนื้อหุ้มเมล็ดสีแดงอมส้ม หุ้มเมล็ดมิดชิดโดยรอบหรือเปิดเป็นช่องเล็กๆ ที่ส่วนบน


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : ศรีลังกา หมู่เกาะอันดามัน พม่า ภูมิภาคอินโดจีน และภูมิภาคมาเลเซีย


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นบนที่ราบตามริมฝั่งแม่น้ำลำคลองตอนที่ติดต่อกับทะเล


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.