กูดหางนกกะลิง
Colysis hemionitidea Presl, POLYPODIACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เฟิร์น เหง้าทอดยาว เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4 มม. มีเกล็ดรูปขอบขนานแกมรูปกึ่งสามเหลี่ยมทั่วไป เกล็ดกว้างประมาณ 1 มม. ยาวประมาณ 3 มม. เรียวจากโคนไปหาปลาย ขอบหยักซี่ฟัน ใบเดี่ยว รูปขอบขนานถึงรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก กว้างประมาณ 8 ซม. ยาว 35-85 ซม. ปลายแหลม โคนมนและสอบแคบแผ่เป็นปีกติดกับโคนก้านใบ แผ่นใบบาง สีเขียวเข้ม เส้นแขนงใบนูนเป็นสันชัดเจน อยู่ห่างกันประมาณ 8 มม. เส้นใบย่อยสานกันเป็นร่างแหเห็นชัดเจน ภายในช่องร่างแหมีเส้นสั้นยื่นเข้าไปข้างใน ก้านใบมองเห็นไม่ชัดเนื่องจากโคนก้านใบแผ่เป็นปีก บางใบมีก้านใบยาวประมาณ 3 ซม. กลุ่มอับสปอร์รูปกลมหรือรูปขอบขนานสั้นๆ เรียงเป็นแถวเดียวอย่างมีระเบียบ 2 ข้างเส้นกลางใบและขนานกับเส้นแขนงใบ


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : แถบเทือกเขาหิมาลัย จีนตอนใต้ ไต้หวัน หมู่เกาะริวกิว เวียดนามตอนเหนือ และฟิลิปปินส์


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ภาคเหนือ และภาคตะวันตกเฉียงใต้


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นในป่าดิบเขา บนก้อนหิน บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,000-1,500 ม.


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.