กระแตไต่ไม้




ชื่อพื้นเมือง : กระแตไต่ไม้ (ภาคกลาง), กระปรอก (จันทบุรี), กระปรอกว่าว (ประจวบคีรีขันธ์, ปราจีนบุรี), กูดขาฮอก เช้าวะนะ พุดองแคะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), เดาน์กาโละ (มลายู-ปัตตานี), ใบหูช้าง สไบนาง (กาญจนบุรี), สะโมง (ส่วย-สุรินทร์), หัวว่าว (ประจวบคีรีขันธ์)


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Drynaria quercifolia (L.) J. Sm.


ชื่อวงศ์ : POLYPODIACEAE


ชื่อสามัญ : -


ลักษณะ : เฟิร์นอิงอาศัย เหง้าทอดยาว มีเกล็ดสีน้ำตาลเข้ม เกล็ดแคบ ใบเดี่ยว มีรูปร่างและหน้าที่ต่างกัน 2 แบบ ใบไม่สร้างอับสปอร์เป็นรูปไข่ ปลายแหลม โคนมน ขอบหยักเว้ามนตื้นๆ เข้าหาเส้นกลางใบทั้ง 2 ด้าน ไม่มีก้านใบ ใบสร้างอับสปอร์รูปคล้ายใบประกอบแบบขนนก ขอบหยักเว้าลึกเข้าหาเส้นกลางใบทั้ง 2 ด้าน แต่ละหยักลึกเกือบถึงเส้นกลางใบ เส้นใบเป็นร่างแห กลุ่มอับสปอร์รูปกลมหรือรูปไข่ เรียงตัวค่อนข้างมีระเบียบ 2 ข้างของเส้นใบที่แบ่งกลางแต่ละแฉก


ประโยชน์ : ในมาเลเซียใช้เป็นสมุนไพรบดพอกแก้บวม นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ


โทษ : -


ข้อมูลเพิ่มเติม