กูดฮอก
Drynaria sparsisora (Desv.) Moore, POLYPODIACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เฟิร์นอิงอาศัย เหง้าทอดยาว เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5 ซม. มีเกล็ดหนาแน่น เกล็ดรูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้างประมาณ 2 มม. ยาวประมาณ 3 มม. โคนแบบก้นปิด ปลายแหลม ขอบสีน้ำตาลหยักซี่ฟัน ไม่แข็ง ตอนกลางสีน้ำตาลดำ ใบเดี่ยว มีรูปร่างต่างกัน 2 แบบ ใบไม่สร้างอับสปอร์รูปไข่ถึงรูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 16-22 ซม. ยาว 17-23 ซม. ขอบหยักเว้าแบบขนนกลึกครึ่งหนึ่งของระยะทางจากขอบใบถึงเส้นกลางใบ ทำให้ใบมีลักษณะเป็นแฉก แฉกรูปขอบขนานแกมรูปกึ่งสามเหลี่ยม กว้างประมาณ 4 ซม. ยาวประมาณ 6 ซม. ปลายแฉกมน ขอบเรียบ ไม่มีก้านใบ ใบไม่สร้างอับสปอร์ยังคงติดอยู่กับเหง้าได้นานจนกว่าจะผุพังไปตามกาลเวลา ใบสร้างอับสปอร์รูปขอบขนาน กว้าง 25-35 ซม. ยาว 40-50 ซม. ปลายแหลม โคนแผ่เป็นปีกทาบติดกับก้านใบ ขอบหยักเว้าลึกจนเกือบถึงเส้นกลางใบทำให้ใบเป็นแฉก แฉกรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก กว้างประมาณ 5 ซม. ยาวประมาณ 20 ซม. ปลายแฉกเรียวแหลมและเป็นเส้นยาว ขอบแฉกเรียบ เส้นกลางใบนูนเป็นสันเห็นชัดเจนทั้ง 2 ด้าน เส้นใบย่อยสานกันเป็นร่างแห 6-8 แถวระหว่างเส้นกลางแฉก แผ่นใบเหนียว เรียบ ก้านใบยาว 12-18 ซม. กลุ่มอับสปอร์รูปกลม อยู่บนเส้นใบย่อยที่สานกันเป็นร่างแห เรียงตัวกระจัดกระจายทั่วไปบนแผ่นใบ


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : มาเลเซีย อินโดนีเซีย ภูมิภาคโปลินีเซีย และเขตร้อนของออสเตรเลีย


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นเกาะบนต้นไม้ใหญ่ในป่าดิบทึบหรือในที่ค่อนข้างร่ม บนพื้นที่ระดับต่ำถึงที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 800 ม.


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.