กูดหางนกกะลิง
Microsorum pteropus (Blume) Copel., POLYPODIACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เฟิร์น เหง้าทอดยาว เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 มม. มีเกล็ดหนาแน่น เกล็ดรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก กว้างประมาณ 2 มม. ยาวประมาณ 5 มม. โคนมน ปลายเรียว ขอบเรียบ ใบเดี่ยว เป็นใบธรรมดาหรือหยักเว้าเป็น 3 แฉก ใบอ่อนอยู่ค่อนข้างชิดกัน ใบธรรมดารูปใบหอก กว้างประมาณ 3.5 ซม. ยาวประมาณ 15 ซม. ปลายเรียวแหลมยาว โคนสอบแคบแผ่เป็นปีกติดกับก้านใบ ขอบเรียบ ส่วนใบที่หยักเว้าหยักเป็น 3 แฉก แฉกปลายรูปใบหอก แฉกด้านข้างรูปขอบขนานแคบ เส้นกลางใบนูนเห็นเป็นสันชัดเจนทั้ง 2 ด้าน มีเกล็ดเล็กๆ เส้นแขนงใบเห็นได้ชัดเจน แต่เส้นใบย่อยสานกันเป็นร่างแหมองเห็นได้ไม่ชัด ช่องร่างแหขนาดใหญ่ เรียงตัวเป็นระเบียบ 2 ข้างเส้นกลางใบ แผ่นใบบาง สีเขียวเข้มถึงเกือบดำ ก้านใบสีน้ำตาลอ่อน ยาวประมาณ 15 ซม. อยู่ห่างกันประมาณ 1 มม. มีเกล็ด กลุ่มอับสปอร์รูปกลมหรือรูปขอบขนานสั้นๆ มีจำนวนมาก เรียงตัวกระจัดกระจายทั่วไปบนแผ่นใบ


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : จีนตอนใต้ อินเดีย หมู่เกาะริวกิว มาเลเซีย และอินโดนีเซีย


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ทั่วทุกภาค


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นบนก้อนหินหรือหน้าผาหินใกล้ลำธารหรือน้ำตก ในป่าดิบ บนพื้นที่ระดับต่ำจนถึงที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 800 ม.


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.