กระปรอกสิงห์
Microsorum punctatum (L.) Copel., POLYPODIACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เฟิร์นอิงอาศัย เหง้ารูปทรงกระบอก ทอดยาวและแตกแขนง เส้นผ่านศูนย์กลาง 6-7 มม. มีเกล็ดรูปขอบขนานหรือรูปคล้ายสามเหลี่ยมกว้างประมาณ 2 มม. ยาวประมาณ 8 มม. ปลายสอบเรียวยาว รากออกรอบเหง้าเป็นกลุ่มคลุมเหง้าไว้เกือบทั้งหมด ใบเดี่ยว รูปขอบขนาน กว้าง 1.5-6 ซม. ยาว 25-80 ซม. ปลายมนหรือแหลม โคนสอบเรียว ขอบเรียบ แผ่นใบหนา เส้นกลางใบเป็นสันเห็นได้ชัดทั้ง 2 ด้าน เส้นร่างแหเห็นไม่ชัด ก้านใบสั้นมาก โคนก้านมีเกล็ด กลุ่มอับสปอร์รูปกลม ขนาดเล็ก กระจายจากบริเวณกลางใบไปหาปลายใบ ไม่มีเยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : พบทั่วไปในประเทศแถบศูนย์สูตรของทวีปแอฟริกาและเอเชีย


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ทั่วทุกภาค


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นบนไม้ต้นหรือบนก้อนหินในที่ค่อนข้างร่มในป่าดิบแล้งและป่าดิบชื้น บนพื้นที่ระดับต่ำถึงที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 2,000 ม.


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.