กูดจักเข็บ
Neocheiropteris normalis (D. Don) Tagawa, POLYPODIACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เฟิร์น เหง้าทอดยาว เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 มม. มีเกล็ดสีน้ำตาลอ่อน เกล็ดรูปไข่ กว้างประมาณ 1 มม. ยาวประมาณ 2 มม. โคนมน ปลายแหลม ขอบเรียบ มีกระจุกขนแข็งสีน้ำตาลเข้มยาวได้ถึง 4 มม. ใบเดี่ยว เรียงห่างกัน 0.5-3 ซม. รูปขอบขนานหรือรูปใบหอกแคบ กว้างประมาณ 3 ซม. ยาวประมาณ 45 ซม. ปลายเรียวแหลม โคนสอบเรียว แผ่นใบบาง เส้นกลางใบเห็นชัดทั้งสองด้าน เส้นแขนงใบพอมองเห็นได้และสานกันเป็นร่างแห ก้านใบสีน้ำตาลอ่อน ยาวประมาณ 5 ซม. มีเกล็ด กลุ่มอับสปอร์รูปกลม ขนาดประมาณ 3 มม. เรียงเป็นแถวไม่เป็นระเบียบค่อนข้างใกล้เส้นกลางใบ


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : แถบเทือกเขาหิมาลัย พม่าตอนเหนือ จีนตอนใต้ เวียดนาม และภูมิภาคมาเลเซีย


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ทั่วทุกภาค


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นปนกับมอสส์บนต้นไม้ใหญ่ในป่าดิบเขา บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,000-2,000 ม.


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.