กูดหางค่าง
Pteris biaurita L., PTERIDACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เฟิร์น เหง้าสั้น ตั้งตรง มีเกล็ดตอนปลาย เกล็ดสีน้ำตาลเข้ม กว้างประมาณ 1 มม. ยาวประมาณ 5 มม. ที่ขอบมีขน ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ กว้าง 25-30 ซม. ยาว 30-60 ซม. ใบย่อยหยักเว้าลึกโดยเฉพาะใบย่อยคู่ล่างๆ ทำให้มีลักษณะคล้ายใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ก้านใบสีเขียวหรือม่วงแดง ยาว 30-60 ซม. มีเกล็ดสีน้ำตาลที่หลุดร่วงง่าย ก้านใบด้านบนมีร่องตามยาว ใบย่อย 5-12 คู่ เรียงตรงข้ามบนแกนกลางใบประกอบ รูปแถบแกมรูปใบหอก กว้างประมาณ 5 ซม. ยาวประมาณ 20 ซม. ปลายเรียวแหลม โคนสอบ ขอบหยักเว้าลึกเกือบถึงเส้นกลางใบย่อย ใบย่อยคู่ล่างหยักเว้าทางด้านใกล้โคนมากกว่าด้านตรงกันข้าม ใบย่อยเล็กสุดรูปขอบขนานหรือรูปเคียว ปลายแหลม โคนมน แผ่นใบค่อนข้างบาง สีเขียว ผิวเรียบ เส้นใบสานกันเป็นร่างแหตรงโคนใบ ส่วนอื่นแยกสาขาเป็นคู่เห็นได้ชัดเจนทั้ง 2 ด้าน กลุ่มอับสปอร์เรียงตัวต่อเนื่องตามขอบใบย่อย ยกเว้นบริเวณปลายใบและบริเวณที่ขอบใบเว้า เยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์บาง และสีซีด


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : พบทั่วไปในเขตร้อนของโลก


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ทั่วทุกภาค


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นตามไหล่เขาในป่าดิบแล้งและป่าดิบชื้น บนพื้นที่ระดับต่ำ


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.