กูดผีสือ
Pteris cretica L., PTERIDACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เฟิร์น เหง้าสั้น ทอดขนานหรือตั้งตรง มีเกล็ดสีน้ำตาล เกล็ดยาวประมาณ 5 มม. ขอบเรียบ ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ออกเป็นกระจุก รูปขอบขนาน กว้าง 6-35 ซม. ยาว 15-40 ซม. ก้านใบสีน้ำตาลอ่อนถึงน้ำตาลแดงหรือม่วงแดง ยาว 10-30 ซม. อาจยาวได้ถึง 50 ซม. ก้านใบของใบสร้างอับสปอร์จะยาวกว่านี้ ใบย่อยมีประมาณ 7 คู่ ใบไม่สร้างอับสปอร์กว้างประมาณ 2 ซม. ยาวประมาณ 23 ซม. ใบสร้างอับสปอร์กว้างประมาณ 1.2 ซม. และเรียวยาวกว่า ปลายเรียวยาวถึงเป็นติ่งยาว โคนแคบ ขอบจักฟันเลื่อย แผ่นใบบาง สีเขียวอ่อน ค่อนข้างเหนียว เส้นใบแยกสาขาเป็นคู่ ก้านใบย่อยสั้นหรือไม่มี กลุ่มอับสปอร์เรียงตัวต่อเนื่องตามขอบใบย่อย เยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์สีน้ำตาล


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : พบทั่วไปในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นตามไหล่เขาในป่าดิบแล้ง บนพื้นที่ระดับต่ำถึงที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000 ม.


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.