กูดผี
Pteris heteromorpha Fee, PTERIDACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เฟิร์น เหง้าสั้น ตั้งตรง มีเกล็ดสีน้ำตาลหนาแน่นที่ยอด เกล็ดรูปแถบ ยาวประมาณ 5 มม. ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ รูปใบหอกกลับ หรืออาจเป็นรูปอื่นๆ กว้าง 15-30 ซม. ยาว 25-60 ซม. แกนกลางใบประกอบสีน้ำตาลหรือน้ำตาลแดง มีขน ก้านใบสีน้ำตาลอ่อนถึงน้ำตาลแดง เป็นมัน ยาว 20-60 ซม. ใบย่อย 3-8 คู่ รูปแถบ กว้างประมาณ 7 ซม. ยาวประมาณ 25 ซม. โคนมน ขอบหยักเว้าลึกไม่เป็นระเบียบ ใบย่อยที่ปลายใบมีขนาดและรูปร่างไม่แน่นอน กว้างประมาณ 6 ซม. ยาวประมาณ 30 ซม. แผ่นใบสีเขียว หนานุ่ม มีขนทั้ง 2 ด้าน เส้นใบแยกสาขาเป็นคู่ เห็นชัดเจนทั้ง 2 ด้าน ไม่มีก้านใบย่อย กลุ่มอับสปอร์เรียงตัวต่อเนื่องตามขอบใบและส่วนที่หยักเว้าลึก ยกเว้นบริเวณปลายใบ เยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์แคบมาก สีขาว


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : พม่า ภูมิภาคอินโดจีน และฟิลิปปินส์


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ทั่วทุกภาค


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นตามไหล่เขาบริเวณที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์ ในป่าดิบแล้ง บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 500-900 ม.


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.