กูดหมาก
Pteris vittata L., PTERIDACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เฟิร์น เหง้าสั้น ตั้งตรง มีเกล็ด เกล็ดอ่อนสีเขียวซีด เกล็ดแก่สีน้ำตาล ยาวประมาณ 5 มม. ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ออกเป็นกระจุก รูปใบหอกกลับ ส่วนกว้างที่สุดอยู่ใกล้ปลายใบ แกนกลางใบประกอบมีร่องตามยาวทางด้านบนและมีเกล็ดเล็กๆ ก้านใบสีน้ำตาลอ่อน ยาว 20-50 ซม. โคนมีเกล็ดหนาแน่น ใบย่อยรูปขอบขนาน โดยเฉพาะคู่กลางๆ กว้าง 0.8-1.2 ซม. ยาวประมาณ 15 ซม. ใบย่อยที่ปลายใบใหญ่กว่าใบย่อยอื่นๆ รูปขอบขนาน กว้างประมาณ 1 ซม. ยาวประมาณ 20 ซม. ใบย่อยคู่ล่างๆ ตรงโคนใบจักลึกเป็นแฉกหรือเป็นติ่ง แฉกหรือติ่งทางด้านใกล้โคนยาวกว่าด้านตรงข้าม ปลายเรียวแหลมหรือเป็นติ่งยาว ขอบจักฟันเลื่อย เส้นใบแยกสาขาเป็นคู่ ยกเว้นบริเวณที่ต่อกับกลุ่มอับสปอร์ ไม่มีก้านใบย่อย กลุ่มอับสปอร์อยู่ต่อเนื่องตามขอบใบย่อย ยกเว้นบริเวณใกล้ปลายใบ เยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์บางและสีซีด


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : จีน ญี่ปุ่นตอนใต้ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ทั่วทุกภาค


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นบนดินปนทราย ตามหินที่มีดินโคลน ตามซอกหินหรือกำแพงเก่าๆ บนพื้นที่ระดับต่ำถึงที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,200 ม.


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.