กะอวม




ชื่อพื้นเมือง : กะอวม (ประจวบคีรีขันธ์, เชียงใหม่), กระเบื้องถ้วย มะยมป่า ย้อมผ้าระนาบ (ภาคกลาง), กริง เปล้าขลิบทอง (ปราจีนบุรี), ค้อนหมา ชวน อ่วม (สุราษฎร์ธานี), คะนาง ชะนาง (จันทบุรี), จุ้มจ่ำ (เลย), ทองฟ้า ไพรสามกอ (ประจวบคีรีขันธ์), น้ำผึ้งใหญ่ ยมป่า (นครราชสีมา), มะงัน (ชลบุรี, ปราจีนบุรี), ยาโกร้ง (ยะลา)


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acronychia pedunculata (L.) Miq.


ชื่อวงศ์ : RUTACEAE


ชื่อสามัญ : -


ลักษณะ : ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 4-8 ม. แตกกิ่งต่ำระเกะระกะใกล้โคนต้น ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรี รูปรีแกมรูปขอบขนาน หรือรูปไข่กลับ ปลายมนหรือแหลมเล็กน้อย โคนสอบ ขอบเรียบ แผ่นใบด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีจางกว่า เมื่อส่องแผ่นใบดูกับแสงสว่างจะปรากฏต่อมน้ำมันโปร่งแสงกระจัดกระจายทั่วไป ช่อดอกออกตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง แตกแขนงเล็กน้อย ดอกเล็ก สีขาวอมเหลือง กลีบดอก 4 กลีบ รูปใบหอก แยกกัน เกสรเพศผู้ 8 อัน ผลกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7-1.2 ซม. ส่วนบนมักมี 4 สัน ปลายผลมีติ่งเล็กน้อย


ประโยชน์ : เนื้อไม้สีเหลือง เมื่อเผามีกลิ่นหอม ในชวาใช้รากและใบเป็นสมุนไพร ใบอ่อนใช้เป็นเครื่องปรุงรส ในภูมิภาคอินโดจีนใช้ใบผสมน้ำอาบเนื่องจากใบมีกลิ่นน้ำมันหอมระเหย ในเวียดนามตอนใต้นำรากมาสกัดใช้ถูตามผิวหนังแก้โรคปวดข้อ สารสกัดจากเปลือกใช้แก้อาการคัน รากใช้เบื่อปลา (Burkill, 1966) ผลสุกกินได้


โทษ : -


ข้อมูลเพิ่มเติม