กะอวม
Acronychia pedunculata (L.) Miq., RUTACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 4-8 ม. แตกกิ่งต่ำระเกะระกะใกล้โคนต้น เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ตามยอดและกิ่งอ่อนมีขนประปราย ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรี รูปรีแกมรูปขอบขนาน หรือรูปไข่กลับ กว้าง 3-8 ซม. ยาว 5-18 ซม. ปลายมนหรือแหลมเล็กน้อย โคนสอบ ขอบเรียบ แผ่นใบด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีจางกว่า เมื่อส่องแผ่นใบดูกับแสงสว่างจะปรากฏต่อมน้ำมันโปร่งแสงกระจัดกระจายทั่วไป เส้นแขนงใบข้างละ 8-13 เส้น ปลายเส้นโค้งขึ้นจรดกับเส้นขอบใบ เส้นร่างแหปรากฏชัดเจนทั้ง 2 ด้าน ก้านใบยาว 1.5-4 ซม. ช่อดอกออกตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง แตกแขนงเล็กน้อย ยาว 4-10 ซม. มีใบประดับขนาดเล็กและมีขนประปราย ดอกเล็ก สีขาวอมเหลือง เมื่อบานเต็มที่กว้าง 0.9-1.4 ซม. กลีบเลี้ยงเป็นแผ่นกลม 4 กลีบ ขนาดเล็กมาก กลีบดอก 4 กลีบ รูปใบหอก ยาวประมาณ 6 มม. แยกกัน เกสรเพศผู้ 8 อัน รังไข่มีขนหนาแน่น ที่ฐานรังไข่ล้อมรอบด้วยจานฐานดอกที่มี 8 พู ช่อผลยาวได้ถึง 18 ซม. ผลกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7-1.2 ซม. มี 4 ช่อง ส่วนบนมักมี 4 สัน ปลายผลมีติ่งเล็กน้อย ผลอ่อนมีขนสีเทาอมเหลืองหนาแน่น และจะร่วงไปเมื่อเจริญขึ้น ก้านผลยาว 0.8-1.6 ซม.


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : อินเดีย ศรีลังกา พม่า จีนตอนใต้ ไต้หวัน ภูมิภาคอินโดจีน และภูมิภาคมาเลเซีย


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ทั่วทุกภาค


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นห่างๆ ตามชายป่าดิบ บนเนินเขาที่ไม่สูงจากระดับน้ำทะเลมากนัก แต่พบมากบนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 700-1,500 ม.


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.