แก้ว


ชื่อพื้นเมือง : แก้ว แก้วขาว (ภาคกลาง), แก้วลาย (สระบุรี), แก้วขี้ไก่ (ยะลา), แก้วพริก ตะไหลแก้ว (ภาคเหนือ), จ๊าพริก (ลำปาง), กะมูนิง (มลายู-ปัตตานี)


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Murraya paniculata (L.) Jack


ชื่อวงศ์ : RUTACEAE


ชื่อสามัญ : Chinese Box-wood, Orange Jasmine, China Box Tree, Andaman Satinwood


ลักษณะ : ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 10 ม. ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับ มีใบย่อย 5-9 ใบ เรียงสลับกันจากเล็กไปหาใหญ่ สีเขียวเข้มเป็นมัน ใบย่อยที่ปลายก้านใบรูปไข่ รูปรี หรือรูปไข่กลับ ปลายแหลม โคนแหลมหรือสอบ ขอบเป็นคลื่นหรือหยักมนตื้นๆ โคนใบเบี้ยวเล็กน้อย ใบมีต่อมน้ำมัน ช่อดอกสั้น ออกตามง่ามใบ ดอกสีขาว กลิ่นหอม กลีบดอก 5 กลีบ ร่วงง่าย ผลรูปรีหรือรูปไข่ กว้าง 5-8 มม. ยาวประมาณ 1 ซม. ผลแก่สีแดงอมส้ม ต่อมน้ำมันเห็นได้ชัด เมล็ดรูปไข่ มีขนหนาและเหนียวหุ้มโดยรอบเมล็ด


ประโยชน์ : นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ สมัยหนึ่งนิยมใช้ไม้ทำไม้เท้าและแกนเพลาเกวียน ใช้ใบเป็นยาฝาดสมาน


โทษ : -


ข้อมูลเพิ่มเติม