กูดยี
Selaginella roxburghii (Hook. et Grev.) Spring, SELAGINELLACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : พืชกลุ่มใกล้เคียงกับเฟิร์น ลำต้นยาวได้มากกว่า 50 ซม. ตอนโคนเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3 มม. มีรากค้ำ ใบเดี่ยว ไม่มีก้านใบ คล้ายเกล็ด เรียงซ้อนกัน 4 แถว มีรูปร่างต่างกัน 2 แบบ ใบด้านบนรูปรี กว้างประมาณ 2 มม. ยาว 3-5 มม. ปลายเรียวแหลม โคนรูปหัวใจไม่เท่ากัน ขอบหยักซี่ฟันเล็กๆ มีขน แผ่นใบบางนุ่ม ด้านบนสีเขียว ด้านล่างสีเขียวอ่อน ใบด้านล่างมีขนาดเล็กกว่า รูปไข่ถึงรูปกึ่งวงกลม ยาวประมาณ 1 มม. ปลายเรียวยาวประมาณ 1 มม. กลุ่มของใบสร้างอับสปอร์เกิดที่ยอด รูปทรงกระบอก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 มม. ใบสร้างอับสปอร์รูปไข่ ปลายเรียวแหลม ขอบหยักซี่ฟัน เรียงสลับซ้อนกัน อับสปอร์แตกต่างกัน 2 ชนิด ชนิดหนึ่งสร้างแมโครสปอร์ อยู่ตามซอกใบตอนล่างซอกละ 1 อับสปอร์ อีกชนิดหนึ่งสร้างไมโครสปอร์ อยู่ตามซอกใบตอนบนซอกละ 1 อับสปอร์


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : ภูมิภาคมาเลเซีย


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ทั่วทุกภาค


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นบริเวณที่ค่อนข้างแห้ง ค่อนข้างร่ม บนพื้นที่ระดับต่ำถึงที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,300 ม.


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.