กอมขม


ชื่อพื้นเมือง : กรอสะนาสมูล (เขมร-ภาคตะวันออกเฉียงใต้), กะลำเพาะต้น ไม้หอมตัวผู้ หมาชล (ภาคตะวันออกเฉียงใต้), ก้ามกุ้งต้น (ชุมพร), ขางขาว ขางครั้ง ดีงูต้น ตะพ้านก้น มะค้า กอมขม (ภาคเหนือ), จันเขา (สุราษฎร์ธานี), ดำ หงีน้ำ หยีน้ำใบเล็ก (ภาคใต้), เนียปะโจ มะปอจอ (กะเหรี่ยง-ภาคเหนือ), หมักกอม (เงี้ยว-เชียงใหม่)


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Picrasma javanica Blume


ชื่อวงศ์ : SIMAROUBACEAE


ชื่อสามัญ : -


ลักษณะ : ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 8-15 ม. ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับ ใบย่อย 1-3 คู่ เรียงตรงข้าม รูปรี รูปรีแกมรูปขอบขนาน รูปไข่ หรือรูปไข่แกมรี ปลายแหลมยาว โคนแหลม ขอบเรียบ ย่นเป็นคลื่นเล็กน้อย ช่อดอกออกตามง่ามใบ แตกแขนงสั้นๆ มีดอกจำนวนมาก แยกเพศ อยู่ต่างช่อ ดอกเพศเมียใหญ่กว่าดอกเพศผู้ประมาณ 2 เท่า กลีบเลี้ยง 4 กลีบ แยกกัน กลีบดอก 4 กลีบ แยกกัน สีเหลือง ขอบกลีบงอเข้าหากันเป็นกระพุ้งเล็กน้อย เกสรเพศผู้ 4 อัน รังไข่กลมรี มี 5 พู ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็นแฉกสั้นๆ 4 แฉก ผลกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 6-9 มม. ผลอ่อนผิวสีขาวอมเขียว อุ้มน้ำ ผลห่ามสีม่วง ผลแก่สีดำ มีกลีบดอกเจริญขึ้นรองรับผล มีเมล็ดแข็ง 1 เมล็ด


ประโยชน์ : เปลือกมีสาร quassiin ให้รสขม ในพม่าและชวาใช้แทนควินิน ชวาใช้ใบแก้ไข้ ตามชนบทไทยใช้เปลือกเป็นยาแก้ไข้


โทษ : -


ข้อมูลเพิ่มเติม