กอมขม
Picrasma javanica Blume, SIMAROUBACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 8-15 ม. เปลือกสีเทาหรือเทาอมน้ำตาล เรียบหรือแตกเป็นร่องขรุขระเล็กน้อย ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับ แกนกลางใบประกอบยาว 4-12 ซม. ก้านใบประกอบยาว 2.5-5 ซม. ใบย่อย 1-3 คู่ เรียงตรงข้าม รูปรี รูปรีแกมรูปขอบขนาน รูปไข่ หรือรูปไข่แกมรี กว้าง 2.2-6 ซม. ยาว 4-15 ซม. ปลายแหลมยาว โคนแหลม ขอบเรียบ ย่นเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีจางกว่า ก้านใบย่อยยาว 2-7 มม. หูใบขนาดใหญ่ เป็นแผ่นกลม กว้าง 0.5-2 ซม. ยาว 0.7-2.5 ซม. มีเส้นใบปรากฎชัด ร่วงง่าย ช่อดอกออกตามง่ามใบ แตกแขนงสั้นๆ ยาว 5-20 ซม. มีดอกจำนวนมาก แยกเพศ อยู่ต่างช่อ ดอกเพศเมียใหญ่กว่าดอกเพศผู้ประมาณ 2 เท่า ก้านดอกยาว 0.6-1 ซม. กลีบเลี้ยง 4 กลีบ แยกกัน รูปสามเหลี่ยม ยาวประมาณ 1 มม. กลีบดอก 4 กลีบ แยกกัน สีเหลือง รูปไข่แกมรูปขอบขนาน ขอบกลีบงอเข้าหากันเป็นกระพุ้งเล็กน้อย เกสรเพศผู้ 4 อัน ยาวกว่ากลีบดอกดอกเพศผู้ แต่สั้นกว่ากลีบดอกดอกเพศเมีย อับเรณูของดอกเพศเมียว่างเปล่า รังไข่กลมรี มี 5 พู ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็นแฉกสั้นๆ 4 แฉก ดอกเพศผู้ไม่มีเกสรเพศเมีย จานฐานดอกหนา สูงประมาณ 1 มม. ด้านข้างเว้าเป็น 4 พู มีขนประปราย ผลกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 6-9 มม. ผลอ่อนผิวสีขาวอมเขียว อุ้มน้ำ ผลห่ามสีม่วง ผลแก่สีดำ ผิวแห้งย่นคล้ายร่างแหไม่เป็นระเบียบ มีกลีบดอกเจริญขึ้นรองรับผล มีเมล็ดแข็ง 1 เมล็ด


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : ภาคตะวันออกของอินเดีย พม่า ภูมิภาคอินโดจีน และภูมิภาคมาเลเซีย


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ทั่วทุกภาค


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นตามริมน้ำในป่าดิบแล้ง และป่าดิบชื้น บนพื้นที่ระดับน้ำทะเลจนถึงสูงประมาณ 700 ม.


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.