กูดห้วย
Thelypteris menisciicarpa (Blume) K. Iwats., THELYPTERIDACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เฟิร์น เหง้าสั้นใต้ดิน มีเกล็ดบางสีน้ำตาล เกล็ดรูปขอบขนาน ปลายมีหางยาว กว้างประมาณ 2 มม. ยาวประมาณ 5 มม. มีขน ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ รูปขอบขนาน ก้านใบเรียงตัวชิดกัน มีขน โคนมีเกล็ด ใบย่อยไม่มีก้านใบ มีประมาณ 5 คู่ รูปขอบขนานแคบ ปลายเป็นติ่งแหลม โคนสอบกว้างถึงเกือบตัดหรือบางครั้งเป็นรูปติ่งหู ขอบค่อนข้างเรียบ แผ่นใบบาง ด้านล่างขรุขระ เส้นร่างแหเห็นไม่ชัด ใบไม่สร้างอับสปอร์กว้างประมาณ 20 ซม. ยาวประมาณ 35 ซม. ก้านใบยาว 5-15 ซม. ใบย่อยกว้าง 2.5-4 ซม. ยาว 10-13 ซม. ใบสร้างอับสปอร์แคบกว่า กว้างประมาณ 15 ซม. ยาวประมาณ 30 ซม. ก้านใบยาวประมาณ 35 ซม. ใบย่อยกว้างประมาณ 2 ซม. ยาวประมาณ 6 ซม. กลุ่มอับสปอร์รูปกลม มีขน อยู่รวมกันเป็นรูปจันทร์เสี้ยวเมื่อเจริญเต็มที่ เยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์สีน้ำตาล มีขน


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : ภูมิภาคมาเลเซีย


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ภาคเหนือ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ และภาคใต้


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นตามก้อนหินที่มีดินโคลน ริมลำธารในป่าดิบ บนพื้นที่ระดับต่ำ


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.