กูดก้านแดง
Thelypteris truncata (Poir.) K. Iwats., THELYPTERIDACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เฟิร์น เหง้าสั้น ตั้ง มีเกล็ดบางสีน้ำตาล กว้างประมาณ 2 มม. ยาวประมาณ 4 มม. ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ รูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน กว้าง 40-50 ซม. ยาวประมาณ 1 ม. หรือมากกว่าในใบที่เจริญเต็มที่ ก้านใบยาวได้มากกว่า 50 ซม. สีน้ำตาลอ่อนถึงเข้ม มีขน ก้านใบตอนโคนมีเกล็ด ใบย่อยมี 30 คู่ หรือมากกว่า ไม่มีก้านใบย่อย ใบย่อยคู่ล่างๆ ลดขนาดลงจนมีรูปคล้ายติ่งหู ใบย่อยตอนกลางใหญ่ที่สุด รูปขอบขนาน กว้าง 2.5-3 ซม. ยาว 20-25 ซม. ปลายเรียวแหลม โคนสอบหรือตัด ขอบเว้าเป็นพูลึกประมาณ 1/3 จากเส้นกลางใบย่อย บริเวณตอนกลางของใบย่อยขอบใบหยักเล็กน้อย แผ่นใบสีเขียว บาง เรียบ เส้นใบแบบขนนก เส้นใบตอนใกล้โคนใบสานเป็นร่างแห กลุ่มอับสปอร์รูปกลมหรือค่อนข้างกลม เรียงตัวอยู่บนเส้นใบที่แยกสาขาแบบขนนกในแต่ละหยัก เห็นเป็น 2 แถวขนานกัน เยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์ไม่มีขน และมีขนาดลดลงเมื่อกลุ่มอับสปอร์เจริญเต็มที่


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : จีนตอนใต้ อินเดียตอนใต้ ศรีลังกา พม่า ภูมิภาคอินโดจีน และภูมิภาคมาเลเซีย


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นในป่าดิบแล้งและป่าดิบเขาใกล้ลำธารบริเวณกลางแจ้งหรือค่อนข้างร่ม บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 300-1,500 ม.


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.