ก่อเกรียม
Rinorea lanceolata (Wall.) Kuntze, VIOLACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 1-1.5 ม. หรือไม้ต้นขนาดเล็กสูงถึงประมาณ 7 ม. เปลือกบาง เรียบ สีเทา ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปใบหอก รูปรี หรือรูปรีแกมรูปใบหอก กว้าง 3-8 ซม. ยาว 8-20 ซม. ปลายแหลมยาว โคนแหลม ขอบจักถี่ตื้นๆ แผ่นใบบาง ด้านบนสีเขียว เป็นมัน มีขนประปรายตามเส้นกลางใบ และเส้นแขนงใบ ด้านล่างสีเขียวอมเหลือง มีขนทั่วไป ก้านใบยาว 0.3-1.2 ซม. หูใบรูปใบหอก ยาว 0.3-2 ซม. ร่วงง่าย ช่อดอกออกตามง่ามใบหรือตามกิ่งที่ใบร่วงไปแล้ว ยาว 1-3 ซม. มีขนทั่วไป ดอกออกแน่นเป็นกลุ่มใกล้ปลายช่อดอก มี 3-8 ดอก ก้านดอกยาว 4-8 มม. ใบประดับยาว 2-3 มม. ร่วงง่าย กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปรี รูปไข่ หรือกลม กลีบดอก 5 กลีบ สีขาวอมเหลือง กว้างประมาณ 2 มม. ยาว 4-7 มม. แยกกัน ผิวด้านนอกมีขนประปราย เกสรเพศผู้ 5 อัน ก้านชูอับเรณูติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ที่โคน รังไข่มีขน ผลกลมรีหรือรูปไข่ ยาว 0.7-1.2 ซม. มีขน ปลายผลมีก้านเกสรเพศเมียติดค้างเป็นติ่งแหลม ผลอ่อนผิวสด สีเขียว ผลแก่สีน้ำตาล แตกตามยาวออกเป็น 3 ส่วน ผนังผลหนา ผลมีกลีบเลี้ยง และกลีบดอกเจริญขึ้นมารองรับ ส่วนใหญ่มีเมล็ดรูปรี 3 เมล็ด


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : มาเลเซีย เกาะสุมาตรา และชวา


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ภาคใต้


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นตามป่าดิบชื้นที่ค่อนข้างโปร่งใกล้น้ำ บนพื้นที่ไม่สูงจากระดับน้ำทะเลมากนัก


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.