กระเจียวบัว
Curcuma sparganifolia Gagnep., ZINGIBERACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก มีเหง้ากลม ขนาด 2-2.5 ซม. มีรากอวบอยู่รวมกันเป็นกระจุก บางครั้งปลายรากเปลี่ยนเป็นก้อนกลมซึ่งเป็นส่วนที่สะสมอาหาร ใบเดี่ยว ออกจากเหง้าชูขึ้นมาเหนือพื้นดิน 2 ใบพร้อมกันก่อน ส่วนช่อดอกจะงอกพร้อมกับใบที่ 3 ใบยาว รูปใบหอก หรือใบป้อม กว้าง 3.5-6.5 ซม. ยาว 15-60 ซม. ปลายใบยาว โคนค่อยแคบลงไปจนกลายเป็นก้าน ก้านใบยาวประมาณ 20 ซม. ช่อดอกรูปทรงกระบอก กว้าง 2-3 ซม. ยาว 4-5 ซม. ประกอบด้วยใบประดับซ้อนกัน ใบประดับที่โคนช่อสีเขียวอ่อนและมีลักษณะคล้ายกันคือปลายตัด ส่วนใบประดับที่อยู่ปลายช่อนั้น ปลายใบจะแหลมและมีสีขาว ชมพูอ่อน หรือชมพูแก่คล้ายสีกลีบบัว บางครั้งมีสีน้ำตาล เขียว หรือชมพูเข้มตามขอบ ก้านช่อดอกยาว 0.3-1.4 ซม. ดอกสีขาว กลีบปากสีม่วงเข้ม บานอยู่ในซอกใบประดับที่อยู่โคนช่อเท่านั้น ดอกจะยื่นออกมาเล็กน้อย โคนกลีบดอกติดกันเป็นหลอดรูปกรวย กว้างประมาณ 1 ซม. ยาว 1.8-2 ซม.


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : ภูมิภาคอินโดจีน


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงใต้


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นตามป่าโปร่งชื้น


เวลาออกดอก : เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.