ย้อนกลับ

 



















 

ฝ้าย

ชื่อวิทยาศาสตร์
Gossypium  herbaceum  L.
วงศ์ :  
Malvaceae
ชื่อสามัญ : Cotton , Sea Iceland Cotton
ชื่ออื่น : ฝ้ายเทศ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ฝ้ายชัน (ลำปาง), ฝ้ายดอก (เชียงใหม่)

ลักษณะ : ฝ้ายเป็นไม้พุ่ม ลำต้น มีสีน้ำตาลแดงอาจเป็นเหลี่ยม ใบ เดี่ยว รูปไข่กว้าง ปลายใบแหลม ขอบใบหยัก 3-5 หยัก ฐานใบเป็นรูปหัวใจ ก้านใบค่อนข้างยาว ดอก เดี่ยว มีใบประดับ 5 กลีบติดกัน กลีบดอกสีเหลือง ผล กลมปลายยาวแหลม เมล็ด รูปไข่ มีขนสีขาวยาว 3.7-5 เซนติเมตร รอบๆ เมล็ด
ประโยชน์ : ฝ้ายเป็นพืชเส้นใยที่ปลูกและใช้กันมากที่สุดในโลก เมล็ดฝ้ายใช้สกัดน้ำมันเพื่อเป็นอาหาร และใช้ในอุตสาหกรรม เมล็ดหลังจากสกัดน้ำมัน (cottonseed meal) จะมีเปอร์เซนต์โปรตีนสูง ฝ้ายที่ปลูกเป็นการค้าในปัจจุบันได้มาจากการปรับปรุงพันธุ์ โดยคัดเลือกและผสมพันธุ์ระหว่างฝ้ายต่างๆ 4 ชนิดด้วยกัน คือ

  • Upland cotton (G.hirsltum  )

  • American-Egytian cotton  (G. baradense  )

  • Asiatic cottons  (G. aboreum  ) และ (G. herbaceum  )

            ปุยฝ้ายมากว่าครึ่งหนึ่งของที่ผลิตได้ใช้เป็นเครื่องนุ่งห่ม และเครื่องใช้อื่นๆ ที่เหลือจะใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น ทำถุง ทำสายพานต่างๆ เชือก และยางรถ เส้นใยที่สั้นใช้ทำพรม และเครื่องใช้อื่นๆ เส้นใยที่ติดแน่นอยู่กับเมล็ด ( fuzz or linters) ใช้ทำเส้นใยเทียม เช่น เรยอน และผลผลิตอื่นๆ ที่ทำจากเซลลูโลส เมล็ดฝ้ายใช้หีบน้ำมัน   ปุยฝ้ายทำสำลีและอุปกรณ์ใช้ในทางการแพทย์ และใช้เตรียมเป็นยาแผนปัจจุบันหลายชนิด น้ำมันเมล็ดฝ้ายใช้เป็นน้ำมันหุงต้ม แต่ต้องเอาสารบางชนิดออกก่อน ประโยชน์ทางสมุนไพรก็มี เช่น  เปลือกรากฝ้ายเป็นยาบีบมดลูก

ที่มาของข้อมูล :  หนังสือ พืชไร่ Guide for Field Crops in Tropics and the Subtropics Samuel C.Litzenberger รวบรวม กฤษา สัมพันธารักษ์ ถอดความ