พืชมีพิษ


 







กลับหน้าหลัก
HOME

 


 
พิษระคายเคืองผิวหนัง


  ย้อนกลับ

 

 

 
 

หมามุ่ย

ชื่อวิทยาศาสตร์: Mucuna pruriens  (L.) DC.  ชื่อพ้อง M. prurita  Hook.f.
วงศ์ : Leguminosae - Papilionaceae
ชื่อสามัญ : Cowitch ,  Cowhage
ชื่ออื่น : บะเหยือง หมาเหยือง (ภาคเหนือ) โพล่ยู (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) กลออื้อแซ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้เลื้อย ใบ ประกอบ คล้ายใบถั่วฝักยาว คือมี 3 ใบย่อย ใบย่อยรูปไข่ปลายแหลม มีขนทั่วไป ดอก ช่อ ดอกย่อย แบบดอกถั่ว สีม่วงแก่ ออกตามง่ามใบแถวปลายยอด ฝักแก่จัดสีเหลืองทองถึงเหลืองแก่ มีขนค่อนข้างยาว ถ้าสัมผัสจะคัน ฝักแก่จัดขนจะร่วงปลิวไป

หมามุ่ยมีหลายชนิด
ชนิดที่ 1  ฝักจะไม่ยาวมาก ประมาณ 5-7 เซนติเมตร ฝักตรง
ชนิดที่ 2  ฝักจะยาวกว่าชนิดแรกเล็กน้อย แต่ปลายฝักจะงอนออก ยาว 5-8 เซนติเมตร
ชนิดที่ 3  เป็นหมามุ่ยใหญ่ (หมามุ่ยช้าง, สะบ้าลิง) ฝักรูปทรงกระบอกค่อนข้างแบน ผิวผลย่นๆ เป็นสันและยาวกว่า 2 ชนิดแรก ยาว 10-12 เซนติเมตร ขนสีน้ำตาลแดง
ส่วนที่เป็นพิษ
:  ขนจากฝัก
สารพิษและสารเคมี
: ขนมี mucunain enzyme สามารถย่อยโปรตีนได้ ในขนมี serotonin เป็นสารกระตุ้น ให้ร่างกายคนหลั่ง histamine ก่อให้เกิดการแพ้ผื่นคัน บวมแดง
อาการเกิดพิษ
ผิวหนังเมื่อถูกขนหมามุ่ย จะคัน ระคายเคือง ปวดแสบปวดร้อน บวมแดง
การรักษา
ให้พยายามเอาขนออกให้หมด โดยใช้เทียนไขลนไฟ ให้นุ่ม หรือข้าวเหนียวที่นึ่งแล้ว คลึงจนกระทั่งขนหลุดหมด แต่ถ้าไม่มีของพวกนี้ อาจใช้ถูไปมาบนผม ถ้าเป็นผมสั้นๆ จะได้ผลดี เมื่อคลึงเอาขนหลุดหมดแล้ว ถ้ายังคันให้ทายาคาลาไมน์หรือครีมที่มีสเตียรอยด์ เช่น ครีมพวกเพนนิโซโลน และรับประทานยาแก้แพ้ทุก 6 ชั่วโมง