พืชมีพิษ


 







กลับหน้าหลัก
HOME

 


 
พิษระคายเคืองผิวหนัง


  ย้อนกลับ

 

 

 
 

โพทะเล

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Thespesia populnea  L. Soland.ex Corr.
วงศ์ : Malvaceae
ชื่อสามัญ : Cork tree, Portia tree, Rosewood of Seychelles, Tulip tree

ชื่ออื่น : บากู (มลายู-นราธิวาส) ปอกะหมัดไพร (ราชบุรี) ปอมัดไซ (เพชรบุรี) 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้ยืนต้น ขนาดเล็กสูง ๘ – ๑๒ เมตร ลำต้นโค้ง แตกกิ่งในระดับต่ำเรือนยอดแผ่กว้าง ค่อนข้างหนาทึบ เปลือกเรียบสีเทาอ่อน หรือขรุขระมีรอยแตกตามยาวเป็นร่องลึก ใบ เดี่ยวเรียงสลับ รูปคล้ายหัวใจ ขนาด ๕ – ๑๐ x ๘ – ๑๕ ซม. ปลายใบกว้างแหลมยาว ถึงเรียวแหลม ฐานใบเว้าลึก มีเส้นใบออกจากโคนใบ ๕ – ๗ เส้น ขอบใบเรียบ ผิวใบด้านบนเกลี้ยงเป็นมันด้านท้องใบสีเทาแกมสีน้ำตาล มีเกล็ด ก้านใบยาว ๖ – ๑๖ ซม. มีหูใบรูปใบหอก ยาว ๐.๓ - ๑ ซม. ร่วงง่าย ดอก ออกตามง่ามใบ เป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นคู่ ก้านดอกอ้วนสั้น ๒ – ๕ ซม. มีเกล็ด มีริ้วประดับ ๓ แฉก ร่วงง่าย รูปสามเหลี่ยมแคบ ๆ ยาว ๑.๕ ซม. มีเกล็ดวงกลีบเลี้ยงรูปถ้วยไม่มีแฉก เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑.๑ – ๑.๕ ซม. คล้ายแผ่นหนังไม่หลุดร่วง กลีบดอกสีเหลือง รูปไข่ กว้าง – ยาว ๖ ซม. โคนกลีบติดกันรูประฆังมีจุดสีแดงเข้มอมน้ำตาล แต้มที่โคนกลีบดอกด้านใน ดอกบานเต็มที่ภายในวันเดียว แล้วจะเปลี่ยนสีเป็นชมพูแกมม่วงอ่อน เหี่ยวบนต้น ก่อนร่วงหล่นในวันถัดมา หลอดเกสรเพศผู้ ยาว ๒.๕ ซม. สีเหลืองจาง ๆ มีอับเรณูติดอยู่ตลอดความยาวของหยอด ออกดอกประมาณเดือน กันยายน – ตุลาคม ผล เป็นผลแห้งแตกไม่มีทิศทาง ค่อนข้างกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง ๒ – ๓ ซม. เปลือกแข็ง มีวงกลีบเลี้ยงรูปคล้ายจานอยู่ที่ขั้วผล ผลแก่แห้งติดอยู่บนต้น ไม่ร่วงหล่น มีหลายเมล็ด ผลแก่ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน พบมากในที่ดอนหรือชายฝั่งทะเลและริมแม่น้ำที่ดินเป็นดินร่วนปนทราย

ประโยชน์ : นื้อไม้ สีน้ำตาลอมแดงคล้ำ มีริ้ว สีอ่อนและแก่กว่าสีพื้นสลับ  เสี้ยนเป็นคลื่นบ้างเล็กน้อย เนื้อละเอียดพอประมาณ เหนียวมาก แข็ง ทนทาน เลื่อยไสกบตบแต่งง่าย ขัดชักเงาได้ดี ใช้ทำเครื่องเรือน กระดานพื้น เครื่องกลึง ด้ามเครื่องมือ เครื่องดนตรี พานท้ายปืน รางปืน ทำแจว พาย กรรเชียง ทำไม้คิวแทงบิลเลียด  เปลือก ใช้ตอกหมันเรือ ทำเชือก สายเบ็ด เปลือกและเนื้อไม้มีสารที่เรียกว่าน้ำฝาด นอกจากนี้ยังใช้เป็นสมุนไพร ผล และใบ ใช้ตำพอกแก้หิด น้ำต้มจากเปลือกใช้ชะแผลเรื้อรัง ราก ใช้กินเป็นยาบำรุง
ส่วนที่เป็นพิษ
:  ยางจากต้น เปลือก
การเกิดพิษ
:  ถ้าเข้าตาทำให้ตาบอดได้ เปลือกมีฤทธิ์ทำให้อาเจียน
การรักษา
: