PAGE TITLE
 
 
 
กลับหน้าหลัก
บทนำ
การพัฒนาชนบท
การพัฒนาการเกษตร
การพัฒนาแหล่งน้ำ
การพัฒนาและอนุรักษ์ดิน
การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
การพัฒนาชาวเขา
โครงการธนาคารข้าว
โครงการธนาคารโค-กระบือ
โครงการฝนหลวง
หน่วยแพทย์เคลื่อนที่
แก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพ
โครงการศิลปาชีพพิเศษ
กังหันน้ำชัยพัฒนา


                           หน้า   1    2    3    4  
 

การพัฒนาแหล่งน้ำ (ต่อ)

 
 

2.   พื้นที่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติซึ่งเป็นหุบเขา มีลักษณะเหมาะสมที่จะสร้างเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ และในพื้นที่บริเวณหุบเขาที่จะเป็นอ่างเก็บน้ำนั้น ยังไม่มีราษฎรบุกรุกเข้าไปทำกิน หรือมีอยู่ส่วนน้อย ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาแหล่งน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรมชลประทานควรรีบดำเนินการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำแห่งนั้นโดยเร็ว เพราะถ้าหากปล่อยให้ล่าช้าต่อไปจนราษฎรบุกรุกเข้าไปทำกินในพื้นที่บริเวณอ่างเก็บน้ำดังกล่าวมากแล้ว จะสร้างอ่างเก็บน้ำนั้นๆ ได้ยาก เนื่องจากจะไปทำความเดือดร้อนให้กับราษฎรที่ทำกินอยู่ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำ เมื่อมีอ่างเก็บน้ำแล้วถึงแม้ว่ายังไม่มีระบบส่งน้ำ ก็สามารถระบายน้ำจากอ่างเก็บน้ำลงสู่ลำน้ำเดิมให้กับฝายต่างๆ ของราษฎรทางตอนล่างจนมีน้ำใช้ทำการเพาะปลูกตลอดปีได้  ในระยะต่อไป เมื่อมีงบประมาณพอ จึงจะสร้างระบบส่งน้ำจากอ่างเก็บน้ำกระจายไปยังพื้นที่เพาะปลูกของราษฎรให้เต็มพื้นที่โครงการตามความเหมาะสมได้

 

 
 

3.   ครงการพัฒนาแหล่งน้ำประเภทอ่างเก็บน้ำที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ ย่อมจะใช้ค่าใช้จ่ายสูง ในสภาพที่งบประมาณของประเทศมีอย่างจำกัด ประกอบกับพื้นที่ซึ่งราษฎรขาดแคลนน้ำกินและน้ำใช้เพื่อการเกษตรมีจำนวนมากทั่วประเทศเช่นนี้ ถ้าหากจะรอก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ดังกล่าว อาจต้องรอเป็นระยะเวลานาน จึงพระราชทานพระราชดำริให้พิจารณาถึงพื้นที่หมู่บ้านยากจนที่ราษฎรขาดแคลนน้ำมากเป็นกรณีพิเศษก่อน ด้วยการพิจารณาก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กซึ่งสามารถก่อสร้างเสร็จในปีเดียว และเสียค่าก่อสร้างไม่มากเกินไปนัก เพื่อช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่ดังกล่าวให้สามารถทำการเพาะปลูกได้ผลิตผลพอกินพอใช้ เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปพลางก่อน
     

 
     
 

          4.   ครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริขนาดเล็ก หากมีพื้นที่ของราษฎรถูกน้ำท่วมในอ่างเก็บน้ำ หรือต้องใช้ที่ดินของราษฎรเพื่อการก่อสร้าง ราษฎรภายในหมู่บ้านหรือระหว่างหมู่บ้านซึ่งได้รับประโยชน์จะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดินโดยจัดการช่วยเหลือราษฎรที่เสียประโยชน์ตามความเหมาะสมที่จะตกลงกันเอง เพื่อให้ทางราชการสามารถเข้าไปใช้ที่ดินทำการก่อสร้างได้โดยไม่ต้องจัดซื้อที่ดิน ซึ่งเป็นพระบรมราโชบายที่มุ่งให้ราษฎรมีส่วนร่วมกับรัฐบาล และช่วยเหลือเกื้อกูลกันภายในสังคมตนเอง และมีความหวงแหนที่จะต้องดูแลบำรุงรักษาสิ่งก่อสร้างนั้นต่อไปด้วย และในกรณีที่มีปัญหาเรื่องที่ดินซึ่งราษฎรไม่สามารถตกลงกันเองได้ก็มีพระบรมราโชบายให้ระงับหรือชะลอโครงการนั้นไว้ก่อน
          5.  
ครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ประเภทอ่างเก็บน้ำที่จะต้องส่งให้กับพื้นที่เพาะปลูกเป็นจำนวนมากและส่งน้ำให้กับกิจการอื่นๆ ถ้าสภาพภูมิประเทศมีความเหมาะสมที่จะทำการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ โดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องพื้นที่ถูกน้ำท่วมแล้ว ก็ควรพิจารณาก่อสร้างอ่างเก็บน้ำดังกล่าวให้เก็บกักน้ำได้เต็มที่ จนสามารถรับน้ำทั้งหมดที่จะเกิดจากพื้นที่ลุ่มน้ำเหนืออ่างได้ เพื่อเก็บน้ำไว้ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
          6.   บริเวณต้นน้ำลำธารของลุ่มน้ำต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งลำธารที่มีน้ำไหลตลอดปี ควรพิจารณาสร้างฝายเก็บกักน้ำต้นน้ำลำธารไว้เป็นชั้นๆ ตามความเหมาะสม แล้วต่อท่อชักน้ำจากเหนือฝายต่างๆ ซึ่งท่อชักน้ำนี้ควรใช้วัสดุในท้องถิ่น เช่น ไม้ไผ่ และเจาะรูให้น้ำไหลได้ตลอดหรือขุดร่องน้ำรับน้ำจากเหนือฝาย เพื่อกระจายน้ำจากฝายต่างๆ ให้กับพื้นที่ป่าไม้บริเวณสองฝั่งลำน้ำลำธารนั้นๆ ทำให้พื้นที่ดินสองฝั่งลำน้ำลำธารมีความชุ่มชื้น และป่าไม้เจริญงอกงามเขียวชอุ่มตลอดปี ดังกล่าวนี้ จะช่วยให้การป้องกันไฟป่าในระยะฤดูแล้งได้เป็นอย่างดีด้วย ซึ่งทรงเรียกลักษณะป่าเช่นนี้ว่า "ป่าเปียกสำหรับป้องกันไฟ"  และหากได้ดำเนินการตามพระบรมราโชบายดังกล่าวนี้แล้ว ป่าไม้บริเวณต้นน้ำลำธารของลุ่มน้ำต่างๆ จะมีป่าเปียกสำหรับป้องกันไฟเป็นแนวๆ กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปอันจะช่วยสนับสนุนโครงการอนุรักษ์พื้นที่ต้นน้ำลำธารให้ได้ผลสมบูรณ์ต่อไป
          7.   อ่างเก็บน้ำหรือฝายทดน้ำแห่งใดที่ก่อสร้างขึ้นตามโครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หากมีลักษณะเหมาะสมที่จะผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ ควรพิจารณาติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็ก เพื่อผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าในกับราษฎรหมู่บ้านชนบทใกล้เคียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมู่บ้านชนบทในถิ่นทุรกันดารที่อยู่ในป่าเขาห่างไกลกับเขตชุมชน ซึ่งหากจะต่อไฟฟ้าเข้าไปตามระบบปกติจะมีค่าใช้จ่ายสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนผู้ที่จะใช้ไฟฟ้าดังกล่าว แต่การติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดเล็กจะมีความเหมาะสมสำหรับให้แสงสว่างกับหมู่บ้านราษฎรในท้องที่ชุมชนนั้น รวมทั้งเพื่อกิจการอุตสาหกรรมในหมู่บ้าน เช่น ใช้กับโรงสีข้าวขนาดเล็กในหมู่บ้าน เป็นต้น
                                                                                                                                                             อ่านหน้าต่อไป