PAGE TITLE
 
 
 
กลับหน้าหลัก
บทนำ
การพัฒนาชนบท
การพัฒนาการเกษตร
การพัฒนาแหล่งน้ำ
การพัฒนาและอนุรักษ์ดิน
การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
การพัฒนาชาวเขา
โครงการธนาคารข้าว
โครงการธนาคารโค-กระบือ
โครงการฝนหลวง
หน่วยแพทย์เคลื่อนที่
แก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพ
โครงการศิลปาชีพพิเศษ
กังหันน้ำชัยพัฒนา


                           หน้า   1    2    3  
 

การพัฒนาชาวเขา

 
 

"...คำว่าชาวบ้านนี้ก็จะเรียกชาวบ้านก็ได้ ชาวเขาก็ได้ ก็เป็นชาวบ้านทั้งนั้น เคยไปถามชาวเขาพูดถึงเรื่องว่าจะทำโครงการอย่างไร อะไรเราก็ช่วยกันนะ เค้าบอกว่าหมู่เฮาก็เป็นคนไทยเหมือนกัน..ก็หมายความว่าเป็นคนไทยเป็นชาวบ้านทั้งสิ้น ช่วยกันทำ เขาก็อยากอยู่ในกฏหมาย ทำงานสุจริต หรือ ถ้าเราทำอะไรที่มีเหตุผล เขาก็จะช่วยรักษาป่า ๓ อย่างให้เรา..."

พระบรมราโชวาท
พระราชทานในวันเปิดการสัมมนาการเกษตรภาคเหนือ
ณ สำนักงานเกษตรภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่
๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๔

 
 

ความทั่วไป
         ชาวไทยภูเขาหรือชาวเขา ที่อยู่ในประเทศไทยส่วนใหญ่อพยพมาจากดินแดนเพื่อนบ้าน เป็นชนกลุ่มน้อยเล็กๆ มีจำนวนไม่เกิน 500,000 คน มีวัฒนธรรมประเพณีอันเก่าแก่ของตนเอง ซึ่งยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมาโดยไม่ยอมเปลี่ยนแปลงเลยนับพันปี เที่ยวร่อนเร่ไปตามเทือกเขาสูง ลึก ห่างไกล และอยู่มาเช่นนี้ในเขตแดนไทยกว่าร้อยปีมาแล้ว
     
 

          แต่วิถีการดำรงชีพของชาวเขา ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาตินั้น ไม่เป็นผลดีทั้งต่อขาวเขาเองและต่อภูมิภาคอันเป็นถิ่นที่อาศัย ชาวเขายังมีชีวิตแบบดั้งเดิม ซึ่งสุขภาพอนามัยและการศึกษาถูกละเลย มีระบบเศรษฐกิจแบบยังชีพ ซึ่งเป็นการผลิตเพื่อผู้บริโภคภายในชุมชนของตน การขาดความรู้ในการบำรุงรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินและน้ำ ทำให้ชาวเขาใช้วิธีการถากถางและเผาป่าเพื่อทำไร่เลื่อนลอย เคลื่อนย้ายไปตามที่ต่างๆ โดยเฉพาะภาคเหนือของประเทศไทยที่ยังมีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์เป็นต้นกำเนิดของสายน้ำซึ่งไหลมาหล่อเลี้ยงพื้นที่เพาะปลูกของที่ราบลุ่มภาคกลาง อันเป็นพื้นที่กว้างใหญ่และเป็นแหล่งเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ ชาวเขาได้โค่นฟันตัดทำลายป่าไม้เหล่านี้ไปอย่างน่าเสียดายด้วยความไม่รู้ บางแห่งมีผู้พบว่า ชาวเขาได้เผาและโค่นป่าไม้เก่าแก่ เต็มไปด้วยไม้มีค่า เพียงเพื่อต้องการพื้นที่ไปใช้ทำไร่ข้าวโพด หรือปลูกพริกเท่านั้น ประมาณว่าปัจจุบันมีป่าไม้ถูกทำลายจากการเพาะปลูกทำไร่เลื่อนลอยของชาวเขา ปีละกว่า 100,000 ไร่ พื้นที่ว่างเปล่าบนเทือกเขาซึ่งไม่มีต้นไม้ปกคลุมจะสูญเสียหน้าดินอย่างรวดเร็ว ขาดธาตุอาหารของพืช ในที่สุดก็จะแห้งแล้ง ไม่สามารถทำการเพาะปลูกได้อีกต่อไป ความเสียหายที่เกิดขึ้นจึงนับเป็นมูลค่าที่มิอาจประมาณได้
          นอกจากนี้ ที่ยุ่งยากและเป็นปัญหาเพิ่มขึ้นอกก็คือ ชาวเขาส่วนหนึ่งทำมาหากินโดยการปลูกฝิ่น ปลูกมานานตั้งแต่สมัยโบราณที่การปลูกฝิ่น ค้าฝิ่น ยังเป็นเรื่องถูกต้องตามกฎหมาย จนเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายและมีกฏหมายห้ามการผลิตและค้าฝิ่น ชาวเขาก็ยังไม่ยอมเลิกการทำมาค้าขายฝิ่น ทั้งนี้เนื่องจากขายได้ราคาและมีผู้มารับซื้อถึงที่ ฝิ่นกลายเป็นแหล่งรายได้เงินสดทางเดียวของตนที่

ได้เป็นกอบเป็นกำ เจ้าหน้าที่รัฐก็สุดความสามารถที่จะตรวจสอบควบคุมได้ทั้งหมด เพราะขบวนการต่างๆ ของฝิ่นเกิดขึ้นในป่าลึก บนยอดที่ที่สลับซับซ้อน ยากที่จะเข้าควบคุมเข้าไปถึงได้ เป็นการยากมากที่ให้ชาวเขาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตอันเก่าแก่ของตน สาเหตุหนึ่งนั้นก็คือ ชาวเขามิได้รับรู้ในความเป็นชาติ มิได้รับรู้กฏหมายและความีอยู่ของอำนาจทางการปกครอง ชาวเขาถือว่าตนเป็นชนเผ่าอิสระ คำกล่าวที่ว่า "ภูเขาเป็นของหมู่เฮา" นั้นเป็นจริงในสำนึกของพวกชาวเขา
          รัฐบาล หน่วยงานเอกชน และองค์กรต่างประเทศจำนวนมาก ได้ใช้เวลาและทรัพยากรไปนับไม่ถ้วนในการพัฒนาชาวเขา เพื่อให้ชาวเขาได้มีชีวิตที่ดีขึ้น ยุติการตัดไม้ทำลายป่า และการปลูกฝิ่น ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวงจรการค้ายาเสพติด งานพัฒนาชาวเขาดำเนินไปอย่างค่อนข้างยากลำบาก เพราะเป็นงานที่ต้องการความพร้อม ความสังเกต และความรู้พื้นฐานที่แท้จริงเกี่ยงกับลักษณะทางสังคม วัฒนธรรม ระบบเศรษฐกิจ และระบบความสัมพันธ์ทั้งหมดของชาวเขา ต้องการความละเอียดอ่อน ยืดหยุ่นในการเลือกใช้วิธีการต่างๆ ที่เหมาะสม ทั้งต้องการการประสานงานที่มีประสิทธิภาพด้วย
                           
                                                                                                                              อ่านหน้าต่อไป