PAGE TITLE
 
 
 
กลับหน้าหลัก
บทนำ
การพัฒนาชนบท
การพัฒนาการเกษตร
การพัฒนาแหล่งน้ำ
การพัฒนาและอนุรักษ์ดิน
การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
การพัฒนาชาวเขา
โครงการธนาคารข้าว
โครงการธนาคารโค-กระบือ
โครงการฝนหลวง
หน่วยแพทย์เคลื่อนที่
แก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพ
โครงการศิลปาชีพพิเศษ
กังหันน้ำชัยพัฒนา


                           หน้า  1    2    3  
 

โครงการธนาคารโค-กระบือ

 
 

"...ธนาคารโคและกระบือ ก็คือ การรวบรวมโคและกระบือ โดยมีบัญชีควบคุม ดูแลรักษา แจกจ่าย ให้ยืม เพื่อใช้ประโยชน์ในการเกษตรและเพิ่มปริมาณโคและกระบือตามหลักการของธนาคาร ธนาคารโคและกระบือเป็นเรื่องใหม่ของโลกที่มีความจำเป็นเกิดขึ้น เพราะปัจจุบันมีความคิดแต่จะใช้เครื่องกลไกเป็นเครื่องทุ่นแรงในกิจการเกษตร แต่เมื่อราคาน้ำมันเชื้อเพลิงแพงขึ้น ความก้าวหน้าในการใช้เครื่องกลไกเสียไป จำเป็นต้องหันมาพึ่งแรงงานจากสัตว์ที่เคยใช้อยู่ก่อน เมื่อหันกลับมาก็ปรากฎว่ามีปัญหามาก เพราะชาวนาไม่มีเงินซื้อโค กระบือมาเลี้ยงเพื่อใช้แรงงาน..."
พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่สมาชิกกลุ่มเกษตรกรทั่วประเทศ ณ บริเวณโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา
๑๔ พฤษภาคม ๒๕๒๓

 

 

 


ความทั่วไป

         โค-กระบือ มีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตการผลิตของสังคมไทยมาแต่โบราณ ถือได้ว่าเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญมาก เพราะเป็นแรงงานอย่างเดียวซึ่งทำหน้าที่แทนเครื่องจักรกล ช่วยให้แรงงานในกระบวนการผลิตข้าวเกือบทุกขั้นตอน ตั้งแต่ไถพรวน นวดข้าว จนกระทั่งถึงการขนย้ายผลผลิต ในบางท้องที่ยังใช้แรงงานจาก โค-กระบือ ฉุดลากเครื่องทุ่นแรงในการสูบน้ำและใช้ลากเกวียน เพื่อการขนส่งในชนบททุรกันดารอีกด้วย
        เราเพิ่งตระหนักว่า โค-กระบือ มีจำนวนไม่เพียงพอกับความต้องการของเกษตรกรในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ที่ผ่านมานี้เอง ประมาณว่ามีความต้องการโค-กระบือ เพื่อใช้งานปีละ ๖-๘ ล้านตัว แต่ในปัจจุบัน ทั่วประเทศมีการเลี้ยงโค-กระบือ เพื่องานดังกล่าวเพียง ๕ ล้านตัวเท่านั้น ซึ่งเป็นผลโดยตรงจากความก้าวหน้าและการขยายตัวของเทคโนโลยี ทำให้เกษตรกรหันมาใช้เครื่องจักรและเครื่องมือทุ่นแรงนานาชนิด ทดแทนการใช้แรงงานแบบดั้งเดิม
     

               วิถีการผลิตแบบใหม่เช่นนี้มีประสิทธิภาพและให้ผลผลิตสูง แต่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีระดับต่างๆ ต้องใช้พลังงานและจำเป็นต้องใช้เงินทุนจำนวนมากด้วย ดังนั้น สำหรับเกษตรกรที่มีฐานะยากจน มีพื้นที่ทำกินขนาดเล็ก จะไม่สามารถดำเนินวิถีการผลิตเช่นนี้ได้ในขณะเดียวกับก็พลอยได้รับผลกระทบจากแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไปด้วย เพราะโค-กระบือ ซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญของวิถีการผลิตแบบดั้งเดิม กลายเป็นสิ่งหายากและมีราคาสูง จากการศึกษาของธนาคารโลก พบว่า ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเกษตรกรร้อยละ ๒๐ฏ ที่ไม่มี โค-กระบือ เป็นของตนเอง ต้องเช่า โค-กระบือ และเสียค่าเช่าในอัตราสูง คิดเป็นข้าวเปลือก ๕๐-๑๐๐ ตันต่อปี บางครั้งผลผลิตที่ได้ก็ไม่เพียงพอที่จะชำระค่าเช่า ทำให้เกษตรกรเกิดภาระหนี้สิน ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของความยากจนและความเดือดร้อนในการดำรงชีวิต
          แนวพระราชดำริเกี่ยวกับโครงการธนาคารโค-กระบือ
          ปัจจุบัน ธนาคารโค-กระบือ เป็นที่รู้จักกันกว้างขวางขึ้น ว่าเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่จะช่วยเหลือเกษตรกรยากจนที่ไม่มี โค-กระบือ เป็นของตนเอง โดยการแบ่งเบาภาระค่าเช่า หรือดำเนินการเพื่อให้เกษตรกรมีโอกาสได้เป็นเจ้าของโค-กระบือ เพื่อใช้แรงงานต่อไป
                                                                                                                                                            อ่านหน้าต่อไป