หน้า    2   3    









 














 

              ความเข้าใจในเหตุผลดังกล่าวนั้นได้สร้างแรง บันดาลใจให้กับกลุ่มพันธมิตรให้ออกเดินสำรวจและศึกษาพันธุกรรมกล้วยไม้ป่าในอาณาบริเวณ ที่นอกเหนือไปจากพื้นที่ปลูกรักษา  โดยมีความหวังว่า นิเวศน์วิทยาที่สมบูรณ์ขึ้นของพื้นที่ป่าภายในศูนย์ฯ จะมีผลในการเอื้ออำนวยให้กล้วยไม้ได้อยู่อาศัย และกระจายพันธุ์เพิ่มมากขึ้นทั่วป่า  คาดหวังไว้ว่าจะ ได้พบความหลากหลายของพันธุกรรมกล้วยไม้   และในขณะเดียวกันก็ร่วมกันฝันไว้ว่าพื้นที่ปลูกรักษา พันธุกรรมพืช อพ.สธ. ภายในศูนย์ฯ  สมบูรณ์พอ ที่จะเป็นที่อยู่และที่รวบรวมของพันธุกรรมกล้วยไม้ ทั้งชนิดที่เติบโตอยู่ภายในพื้นที่และชนิดที่รวบรวม มาจากป่าในเขตใกล้เคียง  เป็นพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ ที่มีชีวิตของกล้วยไม้ป่าในภายภาคหน้าให้ชนรุ่นหลัง ได้มาศึกษากันต่อไป
 

                ก่อนจะออกปฏิบัติการ  ผู้อาวุโสได้ทำความ เข้าใจกับพันธมิตรและสร้างความมั่นใจกับพันธมิตร แรงงานพร้อมกันไปกับพันธมิตรวัยเรียนในวิธีการ สังเกตลักษณะเฉพาะตัวของพืชในกลุ่มกล้วยไม้   เพื่อจะได้เห็นความแตกต่างของพืชต่างกลุ่ม และแยกแยะได้อย่างถูกต้อง
 

                ด้วยเหตุที่สมาชิกของพันธมิตร รวมทั้ง ผู้อาวุโส ยังเป็นนักสำรวจและรวบรวมพันธุ์กล้วยไม้ มือใหม่  จึงได้ขีดวงของการสำรวจเอาไว้ตามพื้นฐาน ความสามารถของสมาชิกเอาไว้ว่าจะสำรวจและ รวบรวมเฉพาะกล้วยไม้ดินก่อน  จะยังไม่รวมกล้วยไม้ อิงอาศัยไว้ในแผนการทำงาน  และเมื่อ "ปฏิบัติการ เอื้องดิน" ได้เริ่มขึ้น   ความตื่นเต้นระลอกแรกก็ปรากฏ   เมื่อพลพรรคได้พบเอื้องดินเจริญเติบโตเป็นกลุ่มใน ลักษณะ "ปูพรม" อยู่ใต้ต้นไม้ในป่าโปร่งบนเนินสูง ที่ชันขึ้นไปหากลุ่มไผ่กอแน่น  บริเวณที่มีหินก้อน ใหญ่น้อย กองสลับกัน อยู่บนเนินที่สูงที่สุดของพื้นที่ ปลูกรักษาพันธุกรรมพืช  เอื้องดินกลุ่มนี้ชื่อแผ่นดินเย็น (Nervilia aragoana Gaud.) เอื้องชนิดนี้อยู่ในกลุ่ม ที่ออกดอกก่อนใบเช่นเดียวกับช้างผสมโขลง   ต่อเมื่อ ดอกติดฝักหรือโรยไป แล้วจึงจะมีใบเดี่ยวเป็นรูปหัวใจ แผ่อยู่บนก้านเรียวที่ค่อนข้างยาว  เจริญเติบโตเป็นกลุ่ม คลุมผิวดินไว้ในลักษณะที่สมกับชื่อช่อดอกของ แผ่นดินเย็น ยาวเรียว มีดอกขนาดกลางเรียงตัวเป็นระยะ ที่ส่วนปลายของช่อดอกมีกลีบสีเขียวอ่อน  มีปากสีม่วง สดหรือสีน้ำตาลอมแดง  ลึกเข้าไปติดกับกอไผ่ที่มี ใบแห้งคลุมพื้นดินไว้ทับถม  มีเอื้องดินขนาดเล็ก แทงช่อดอก ช่อสั้น ๆ กลีบดอกสีขาว  เอื้องดินน้อยนี้คือ Zeuxine sp.  ห่างออกไปอีกไม่ไกลในบริเวณที่มีต้นไม้ ใหญ่ เติบโตอยู่ มีเอื้องดินที่มีชื่อน่าเรียกว่าว่านจูงนาง (Geodorum spp.) เจริญเติบโตอยู่เป็นกลุ่ม ๆ ต่างชนิดกัน   ว่านจูงนาง ที่พบในพื้นที่นี้ออกใบก่อนดอก  ช่อดอก ค่อนข้างยาวโค้งลงที่ปลาย  ดอกค่อนข้างใหญ่สีขาว หรือขาวอมชมพู หรือเหลืองปนเขียวแล้วแต่ชนิด  กลีบปากเด่นมีลายแต้ม และสีแตกต่างกันไป
 

                ทุกครั้งที่พบเอื้องดินชนิดยังไม่เคยเห็น  ความตื่นเต้น อยากรู้จัก  และอยากปลูกรักษาเอื้อง เหล่านั้น จะเกิดขึ้นเสมอในกลุ่มพันธมิตร   ก่อให้เกิด การเรียนรู้และการปฏิบัติร่วมกัน   ความกระตือรือล้น เช่นนี้ของสมาชิกที่เป็นทั้งพันธมิตรแรงงานและ พันธมิตรวัยเรียนแสดงถึงการมีจิตสำนึกในการปกปัก รักษาพันธุกรรมพืชอันเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ล้ำค่าของชาติ   กระตุ้นให้ผู้อาวุโสมีกำลังใจและกำลัง วังชาที่จะให้การสนับสนุน และร่วมกิจกรรมอนุรักษ์ ดังกล่าว  ส่งผลให้เกิดการขยายแวดวงพื้นที่ในการ สำรวจกล้วยไม้ป่าออกไปอีกภายนอก เขตของพื้นที่ ปลูกรักษาพันธุกรรมพืชที่พันธมิตร ช่วยกันรับผิดชอบ อยู่ 

                ในการสำรวจระยะแรก   พื้นที่ใหม่ที่ได้ดั้นด้น ไปสำรวจเพิ่มเติมนั้นยังอยู่ในนิเวศน์ของป่าเต็งรัง และป่าผสมผลัดใบ  โดยแวะเข้าไปในป่าทุ่งหญ้า ซึ่งเป็นป่าพื้นราบอันเกิดจากป่าเต็งรังเสื่อมโทรม ก่อนเป็นอันดับแรก   ในป่าทุ่งหญ้าผืนนี้ซึ่งเป็นป่า ที่อยู่ระดับความสูง 500-550 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ใกล้เคียงกันกับพื้นที่ราบของศูนย์ฯ นั้นพบว่ามี    เอื้องดินลาว (Spathoglottis pubescens Lindl.)   และ   บานดึก (S. eburnea Gagnep.) กระจายเล่นลมกันอยู่  บานดอกสีเหลืองอ่อนหรือเหลืองแก่แตกต่างกันไป ตามชนิด  พบ Eulophia ที่ยังไม่ได้จำแนกชนิดอยู่ 2 ชนิด  ชนิดหนึ่งมีดอกต่อช่อน้อยแต่สีสวยมาก  กลีบดอก สีเขียวปนน้ำตาล  แต่ปากขนาดใหญ่สีทับทิม สด  สว่างไสวอยู่กลางแดด  อีกชนิดหนึ่งมีดอกสีเหลือง อ่อน ช่อยาว  กระจัดกระจายอยู่ในพื้นที่โล่งแทรกอยู่ตาม พงหญ้า     นอกจากนี้ยังพบ Cymbidium ชนิดที่มี ชื่อว่า จุหลัน หรือ C.ensifolium (L.) Sw.    นอกจากนี้      แล้วยังโดยพบว่า มีบางต้นที่น่าสงสัยว่าจะเป็นชนิด C. lancifolium Hook. เจริญเติบโตเป็นกลุ่มเล็ก ๆ หรือเป็นกอเดี่ยวอยู่ใต้ต้น ไม้ผลัดใบ  มีดอกสีนวล  เหลืองอมเขียว  เหลืองอมชมพู และเขียวอ่อนปน น้ำตาลแดง  จุดประที่แต้มกลีบปาก และสีของขีดบน กลีบดอก และกลีบเลี้ยงมีความผันแปรหลากหลาย  นอกจากนี้ยังมี Liparis ขนาดเล็กที่ยังไม่ได้จำแนก ชนิดอีกจำนวนหนึ่งอยู่เป็นกลุ่มเล็ก ๆ ทั่วไป   ต้นนี้ถึง ดอกจะมีขนาดจิ๋วแต่ก็ดูแปลกตา เพราะกลีบปากม้วน เข้าใต้กลีบและซ้อนอยู่เหนือ กลีบเลี้ยง 2 กลีบที่อยู่คู่กัน


               เมื่อปีนเขาสูงขึ้นไปอีก  รางวัลแห่งความ พยายามก็มาถึง  สิ่งที่เห็นคือลานดอกขาวและลานดอก เขียวอ่อนเป็นผืนแผ่ออกมาประสานกัน ปรากฏอยู่ ตรงหน้า   เอื้องดินนี้คือว่านจูงนางชนิด  G. recurvum(Roxb.) Alston และ ชนิด G. siamensis Rolfe ex Downie ตามลำดับ  มีทั้งต้นขนาดใหญ่และเล็ก เกาะกลุ่มกัน อยู่ใต้ร่มไม้ในป่าโปร่ง  สวยจนต้องร้อง อุทานกันเซ็งแซ่  ความชัดเจนเกี่ยวกับการกระจายพันธุ์ โดยเมล็ด ปรากฏให้เห็นตรงหน้าจากขนาดของช่อดอก ที่มีทั้ง ขนาดจิ๋วเล็กและใหญ่ปะปนกัน พันธมิตรแรงงาน คนหนึ่งปฏิบัติการเงียบ ๆ ลงมือขุดหัวของต้น ว่านจูงนางที่มีขนาดของช่อดอกแตกต่างกันขึ้นมา โดยไม่ลืมที่จะขุดห่าง ๆ ช่อดอกเนื่องจากเคยทำหัวของ ต้นพืชชนิดนี้ขาดมาแล้วเพราะหัวอยู่ใต้ดินในลักษณะ เรียงติด ๆ กันไปเป็นแถว   เรียงเดี่ยวต่อกันหลาย ๆ หัว  โดยที่หัวที่มีช่อดอกติดอยู่นั้นมีตำแหน่งอยู่ที่ปลายด้านใด ด้านหนึ่งของแถว  พันธมิตรวัยเรียนสนใจและเตร่ เข้าไปดู     แลกเปลี่ยนความคิดเห็นแล้วช่วยกันสรุปว่า ช่อดอกของว่านจูงนางที่แทงออกมาจากพื้นดินแล้วเกิด อยู่เป็นกลุ่มนั้นแต่ละช่ไม่ได้เป็นสมาชิกของกอเดียว กัน  แต่เกิดจากต้นเดี่ยวที่มีอายุต่างกันแล้วเจริญอยู่ชิด กันคาดเดาอายุของแ ต่ละต้นได้จากจำนวนของหัวเก่า ของแต่ละต้น  ซึ่งหัวเก่าพวกนี้อยู่ติดกันเป็นแถว โดยไม่เน่าเปื่อยผุพัง  แต่ละต้นใช้เวลาในการสร้างหัว 1 หัวต่อ 1 ปี     ในแต่ละกลุ่มของต้นพืชจะมีต้นพืชที่มี อายุต่างกัน ปะปนกันอยู่มากมาย   จึงน่าจะเป็นคำตอบ ได้ว่าว่านจูงนางในผืนป่าแห่งนี้กระจายพันธุ์โดยการ ติดเมล็ดในธรรมชาติ   แล้วเมล็ดแพร่กระจายตกลง ในดินในบริเวณใกล้เคียงกันหรือไกลออกไป   ปีแล้ว ปีเล่า    การเรียนรู้และแลกเปลี่ยนความเห็นกันเช่นนี้ ในกลุ่มของพันธมิตรต่างวัยและต่าง วุฒิเกิดขึ้นทุกครั้ง ของการออกสำรวจ ทำให้ผู้อาวุโสเกิดความปิติ ในมิตรภาพที่ไม่มีข้อแม้   และการเรียนรู้ที่ไร้ขอบเขต   ได้แต่นึกเสียดายแทนผู้เยาว์อื่น ๆ ที่ไม่ได้มีโอกาส มาเข้าห้องเรียนธรรมชาติเช่นพันธมิตรเหล่านี้   ห้องเรียนที่สอนคนได้ทุกเพศ  ทุกวัย  ทุกสถานะ  และทุกกาละ  
 

 
     

หน้า    2   3     

 
      บันทึกโดย : ดร.ฉันทนา สุวรรณธาดา จากหนังสือ จากยอดเขาถึงใต้ทะเล 2 สรรพสิ่งล้วนพันเกี่ยว สู่..ประโยชน์แท้แก่มหาชน  
         
 
 
@ 2007 www.tis-museum.org.. All rights reserved.
This site is best viewed with Microsoft Internet Explorer 6.0+ at a minimum screen resolution of 1024 x 768,
A minimum modem connection speed of 56Kbps. Also required Flash plug-in.