ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว

ปะการัง เปรียบเสมือนบ้านของสาหร่ายซูแซนเทลลี (zooxanthellae) ซึ่งเป็นสาหร่ายเซลเดียว ที่อาศัยอยู่ร่วมกันในเนื้อเยื่อปะการังดังนั้น เมื่อสภาพแวดล้อมภายนอกของบ้านหรือปัจจัยทางกายภาพของสภาพแวดล้อมที่ปะการังอาศัยอยู่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จนไม่ เหมาะสมต่อการดำรงชีวิต เช่น การที่อุณหภูมิของน้ำหรือระดับ ความเค็มของน้ำสูงขึ้นหรือต่ำลงกว่าสภาวะปกติ ส่งผลให้สาหร่ายซูแซนเทลลีไม่สามารถอาศัยอยู่ในปะการังได้อีกต่อไป จึงจำเป็น ต้องออกมาจากเนื้อเยื่อของปะการัง เข้าสู่มวลน้ำเพื่อหาบ้านใหม่ ที่ให้ตนเองสามารถเข้าไปอาศัยและดำรงชีวิตต่อไปได้ ปะการังที่ปราศจากสาหร่ายเหล่านี้ ก็ไม่มีโอกาสได้รับพลังงานเสริมที่เพียงพอ ในการดำรงชีวิต หากสถานการณ์ดำรงเช่นนี้ต่อไป ปะการังก็จะตาย ไปในที่สุด เมื่อสาหร่ายซูแซนเทลลี ซึ่งเป็นสีสันของปะการังออก จากตัวปะการังไปแล้ว ปะการังก็จะกลับคืนมาเป็นสีขาว ซึ่งคือสีของปะการังเอง ดังนั้น ปรากฏการณ์ที่ทำให้สาหร่ายซูแซนเทลลีออกจากปะการัง จึงเรียกว่า ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว (coral bleaching)

ทั้งนี้ปะการังที่เกิดการฟอกขาวก็สามารถกลับคืนสู่สภาพปกติได้ หากสาหร่ายซูแซนเทลลีเหล่านี้กลับเข้าสู่ปะการังอีก ซึ่งเกิดขึ้นได้ เมื่อปัจจัยแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงกลับคืนสู่ภาวะปกติ อย่างไรก็ตาม หากการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเป็นวงกว้าง และระยะเวลายาวต่อเนื่องกัน การฟื้นตัวของปะการังโดยธรรมชาติมีโอกาสเป็นไปได้ต่ำ หรือไม่มีเลย โดยทั่วไป ปะการังแข็งสามารถดำรงชีวิตโดยปราศจากสาหร่ายซูแซนเทลลีได้ประมาณ 2-3 สัปดาห์ ดังนั้น หากสาหร่ายซูแซนเทลลีไม่กลับเข้าสู่ปะการังในช่วงเวลาดังกล่าว ปะกาะรังเหล่านั้นก็จะตายในที่สุด

 
         
      อ้างอิงจาก : หนังสือ จากยอดเขาถึงใต้ทะเล 2,อพ.สธ.-ทร. ,พ.ศ. 2550.  
         
 
 
@ 2007 www.tis-museum.org.. All rights reserved.
This site is best viewed with Microsoft Internet Explorer 6.0+ at a minimum screen resolution of 1024 x 768,
A minimum modem connection speed of 56Kbps. Also required Flash plug-in.