กรรณิการ์
Nyctanthes arbortristis L.
(OLEACEAE)

           ขอแนะนำดอกไม้อย่างหนึ่งมีกล่าวไว้ในกาพย์กลอนของเราบ่อยๆ คือ ดอกกรรณิการ์ บางทีเรียก "กรณิการ์" พระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ ในรัชกาลที่ 1 มีกล่าวถึงดอกกรรณิการ์ไว้ดังนี้

     นางแย้มกล้วยไม้มะลุลี
ยี่สุ่นโยทะกาชบาบาน

  ยี่สุ่นโยทะกาชบาบาน
ยี่สุ่นโยทะกาชบาบาน

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานอธิบายว่า กรรณิการ์ เป็นต้นไม้ยืนต้น ชื่อภาษาละตินว่า (Nyctanthes arbortristis ) ใบคาย ดอกหอม กลีบขาว ตรงโคนเป็นหลอดสีแสด ใช้ย้อมผ้า นี่ก็แสดงว่า แต่เดิมก่อนที่จะมีสีย้อมผ้า ดอกกรรณิการ์ใช้ประโยชน์แทนสี เช่นเดียวกับแก่นขนุนที่ใช้ต้มเอาน้ำย้อมผ้าเหลืองเรียกว่ากรัก หรือต้นคำ ที่ใช้เมล็ดย้อมผ้าอย่างในบทเห่กล่อมเด็กว่า " วัดเอยวัดนอกมีแต่ดอกแคแดง ดอกคำยิ่งแพง สาวน้อยจะห่มสีชมพู " ต้นไม้อื่นที่ดอก เปลือก และแก่นนำมาใช้ย้อมสีได้คงมีอีกมาก

     ดอกเอ๋ยดอกกรรณิการ์
หอมระรื่นชื่นใจไปทั้งวัน
ก้านสีแสดดอกสีขาวเหมือนดาวเด่น
แล้วร่วงโรยโปรยดอกออกตามลม

  กลีบช่างพาให้หลงพะวงฝัน
ค่ำคืนนั้นมิได้หอมออกตรอมตรม
ในยามเช้าเคยเห็นส่งกลิ่นฉม
ช่างน่าชมเดียรดาษเกลื่อนกลาดเอยฯ

                                                                                         ดอกไม้หอมเมืองไทย...เรืองอุไร  กุศลาศัย

                กรรณิการ์เป็นไม้พุ่มค่อนข้างโปร่ง สูง 1.5-2.5 ม. กิ่งเป็นหลี่ยมผิวหยาบและเปราะหักง่าย ใบเป็นใบเดี่ยว รูปคล้ายรูปไข่ ขนาดยาว 4-8 ซม. ปลายแหลม ขอบใบอาจจะเรียบหรือเป็นจัก ให้ดอกเกือบตลอดปี ขนาดดอก 1.5-2 ซม. กลีบเป็นแฉกสีขาว 5 แฉก ปลายบิดเวียนเล็กน้อย หลอดดอกตรงสีแสดยาวประมาณ 1 ซม. ดอกบานและมีกลิ่นหอมในเวลากลางคืน ครั้นถึงเวลาเช้า ดอกจะร่วงลงเกลื่อนใต้ต้น ดังเช่นที่กล่าวไว้ในวรรณคดีเรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์รัชการที่ 2 ดังนี้
 

     พระนึกคะนึงนางพลางประพาส
รุกขชาติที่ในสะตาหนัน

  รุกขชาติที่ในสะตาหนัน
ดอกหล่นปนกันอยู่กลางทราย

                คนไทยสมัยก่อนนอกจากจะใช้หลอดกลีบดอกย้อมผ้าแล้ว ยังนิยมนำมาร้อยเป็นสาย และผูกกันเป็นพวงอุบะได้สวยงามมาก พันธุ์ไม้ชนิดนี้ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด หรือ โดยการตอนกิ่ง ปลูกเลี้ยงได้ดีในที่น้ำไม่ขัง และมีร่มเงาเล็กน้อย ถิ่นเดิมแถบเอเชียตอนใต้