ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mansonia gagei    J.R. Drumm.ex  Prain.

 

วงศ์ : Sterculiaceae

 

ชื่อสามัญ :  -

 

ชื่ออื่น : จันทน์  จันทน์ชะมด  จันทน์ขาว  จันทน์พม่า

 

ลักษณะ :  ไม้ต้น ผลัดใบ สูง 10-20 เมตร เปลือกต้นค่อนข้างเรียบ สีเทาอมขาว เรือยอดเป็นพุ่มค่อนข้างโปร่ง ใบ เดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปรีแกมรูปขอบขนานหรือแกมรูปไข่กลับ กว้าง 3-6 เซนติเมตร ยาว 8-14 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบเว้า เบี้ยวเล็กน้อย ขอบใบเป็นคลื่นห่างๆ  ดอก เล็กสีขาว ออกรวมกันเป็นช่อตามปลายกิ่งและตามง่ามใบ  ผล รูปกระสวย กว้าง 0.5-0.7 เซนติเมตร ยาว 1-1.5 เซนติเมตร มีปีกรูปทรงสามเหลี่ยมหนึ่งปีก กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 2.5-3 เซนติเมตร

 

นิเวศวิทยา : ขึ้นในป่าดิบแล้ง ชอบขึ้นตามเขาหินปูนทางภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคตะวันตกเฉียงใต้ สูงจากระดับน้ำทะเล 200-400 เมตร

 
ออกดอก :  สิงหาคม - ตุลาคม ผลแก่ ธันวาคม - มกราคม  

การขยายพันธุ์ : โดยเมล็ด

 

ประโยชน์ : เนื้อไม้ กระพี้สีขาว แก่น สีน้ำตาลเข้ม ไสกบตบแต่งง่าย ไม้ที่ตายเองจะมีกลิ่นหอม ใช้ทำหีบใส่เสื้อผ้า เครื่องกลึง เครื่องแกะสลัก ทำหวี ดอกไม้จันทน์ ธูป น้ำมันหอม ที่ได้จากการกลั่นชิ้นไม้ใช้ปรุงเครื่องหอมและเครื่องสำอาง ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ เนื้อไม้ ใช้เป็นยาแก้ไข้ แก้โลหิตเสีย แก้กรกะหายน้ำและอ่อนเพลีย