|
|
||||
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tamarindus indica L. |
||||
วงศ์ : Leguminosae |
|||||
ชื่อสามัญ : Tamarind, Indian Date |
|||||
ชื่ออื่น : มะขาม ตะลูบ หมากแกง |
|||||
ลักษณะ : ไม้ต้น สูงถึง 20 เมตร เปลือกหนา ขรุขระ สีน้ำตาลเข้ม แตกกิ่งก้านสาขามาก ใบ ประกอกแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อย 10 20 คู่ แผ่นใบย่อยรูป ขอบขนานขนาดเล็ก ดอก สีเหลืองอ่อนปนสีส้ม ออกเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง กลีบดอก 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน ผล เป็นโค้งหรืองอ กว้าง 1 2.5 เซนติเมตร ยาว 5 15 เซนติเมตร เปลือกหนา แข็ง สีน้ำตาล หรือน้ำตาลอมเทา เนื้อรสเปรี้ยว หรือหวาน เมล็ด มีหลายเมล็ด |
|||||
นิเวศวิทยา : ถิ่นกำเนิดในเอเชียและแอฟริกาเขตร้อน |
|||||
ออกดอก : เดือนพฤษภาคม เป็นต้นไป | |||||
การขยายพันธุ์ : โดยเมล็ด |
|||||
ประโยชน์ : เปลือก ต้มกับน้ำหรือน้ำปูนใสแก้ท้องเดิน เนื้อไม้ใช้ทำเขียง ใบ ต้มน้ำดื่มช่วยย่อยและขับปัสสาวะ ใบ ดอกและฝัก ใช้เป็นอาหาร เนื้อในฝัก เป็นยา ระบายอ่อนๆ แก้ไอ ขับเสมหะ เมล็ด คั่วใช้เนื้อขับพยาธิไส้เดือน |
|||||
|
|||||
|