|
|
||||
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Afzelia xylocarpa ( Kurz) Craib. |
||||
วงศ์ : Leguminosae |
|||||
ชื่อสามัญ : - |
|||||
ชื่ออื่น : มะค่าใหญ่ มะค่าหลวง |
|||||
ลักษณะ : ไม้ต้น ผลัดใบ แตกกิ่งต่ำ ลำต้นมักเป็นครีบและปุ่มปม โคนเป็นพูพอน เปลือกสีน้ำตาลอ่อนหรือชมพูอมน้ำตาล แตกสะเก็ดเป็นหลุมตื้นๆ ใบ ประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยติดตรงข้ามกันเป็นคู่ 3 5 คู่ แผ่นใบรูปไข่หรือรูปรีกว้าง 2 5 เซนติเมตร ยาว 4 9 เซนติเมตร ปลายใบทู่เป็นติ่ง โคนใบมนหรือหยักเว้าเล็กน้อย ดอก สีเขียวอ่อนแต้มสีแดง ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ยาว 5 15 เซนติเมตร ผล เป็นฝักแบน แข็ง รูปขอบขนาน กว้าง 7 10 เซนติเมตร ยาว 12 20 เซนติเมตร แตกเมื่อแห้ง เมล็ด สีดำเป็นมัน มี 4 5 เมล็ด เรียงตามขวาง |
|||||
นิเวศวิทยา : ขึ้นในป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้งใกล้แหล่งน้ำทุกภาค เว้นภาคใต้ สูงจากระดับน้ำทะเล 100 600 เมตร |
|||||
ออกดอก : กุมภาพันธ์ มีนาคม ฝักแก่ มิถุนายน สิงหาคม | |||||
การขยายพันธุ์ : โดยเมล็ด |
|||||
ประโยชน์ : เนื้อไม้ สีน้ำตาลอมเหลืองอ่อน แข็ง เหนียว ทนทาน ขัดและชักเงาได้ดี ใช้ทำเสา รอด ตง พื้นไม้เครื่องบน ต่อเรือ เครื่องกลึง พานท้ายปืนและรางปืนทำกลองโทน รำมะนา เปลือก ทำน้ำฝาดสำหรับฟอกหนัง เมล็ดอ่อนเนื้อใน รับประทานได้ |
|||||
|
|||||
|