เบญจมาศชื้น
ชื่อพื้นเมือง
: เบญจมาศชื้น (เชียงใหม่,
กรุงเทพฯ), กะเม็งตัวผู้ (ภาคกลาง),
ฮ่อมเกี่ยวคำ (ภาคเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Wedelia
chinensis (Osbeck) Merr.
ชื่อวงศ์ : ASTERACEAE
(COMPOSITAE)
ชื่อสามัญ : -
ลักษณะ : ไม้ล้มลุก
ลำต้นมีขน
ทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน
ชูยอดตั้งขึ้น ใบเดี่ยว
เรียงตรงข้าม รูปใบหอก
รูปขอบขนานแกมรูปใบหอก
หรือรูปไข่กลับแคบ
ปลายแหลมหรือมีติ่งแหลม
โคนเรียวแหลม
ขอบเรียบหรือจักซี่ฟัน ช่อดอกแบบช่อกระจุกแน่น
ออกที่ยอด
เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-2.5 ซม.
ดอกวงนอกรูปลิ้น มี 8-12
ดอก เป็นดอกเพศเมีย
กลีบดอกสีเหลือง
โคนติดกันเป็นหลอด
ปลายเป็นแผ่น
ดอกวงในโคนกลีบติดกันเป็นหลอด
ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ผลสีน้ำตาลเข้ม
เรียบหรือขรุขระ
เมื่อแก่แห้งไม่แตก
ประโยชน์ :
ในไต้หวันนำมาตำกับข้าวสุกใช้พอกบริเวณที่บวม
ในอินโดจีนใช้ยาชงจากต้นตากแห้งดื่มบำบัดอาการกระเพาะกาง
(distended stomach)
ชาวเขาใช้แก้พิษของน้ำที่ไม่สะอาด
ในแหลมมลายูเชื่อกันว่าใบเป็นยาบำรุง
ใช้บำบัดอาการไอ
ปวดศีรษะ
โรคผิวหนังชนิดต่างๆ
และศีรษะล้าน
โทษ : -