กระทิง


ชื่อพื้นเมือง : กระทิง กระทึง กากะทิง กากะทึง (ทั่วไป), ทิง (กระบี่), เนาวกาน (น่าน), สารภีทะเล (ประจวบคีรีขันธ์), สารภีแนน (ภาคเหนือ)


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Calophyllum inophyllum L.


ชื่อวงศ์ : CLUSIACEAE (GUTTIFERAE)


ชื่อสามัญ : Alexandrian Laurel


ลักษณะ : ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงถึง 20 ม. ทุกส่วนมียางสีเหลืองอมเขียว ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรีแกมรูปไข่กลับ แผ่นใบเกลี้ยง เป็นมัน ปลายมน หรือมีรอยเว้าบุ๋ม ช่อดอกออกตามง่ามใบ และปลายกิ่ง ดอกสีขาว กลิ่นหอม กลีบเลี้ยงสีเดียวกับกลีบดอกมีอย่างละ 4 กลีบ เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก ผลค่อนข้างกลม และฉ่ำน้ำ เมื่อสุกสีเหลือง


ประโยชน์ : ปลูกกันเป็นไม้ประดับ เป็นไม้ให้ร่มตามถนน ไม้ใช้ในการก่อสร้าง ทำเครื่องเรือน ทำกระดูกงูเรือ ไม้หมอนรถไฟ ใบมี saponin เมล็ดเมื่อนำมาบีบ หรือสกัดด้วยตัวทำลายอินทรีย์ให้น้ำมันสีเหลืองอมเขียวร้อยละ 50-73 มีกลิ่นไม่ชวนดม มีชื่อเรียกได้ต่างๆ กัน เช่น Domba Oil, Laurel Nut Oil, Dillo Oil และ Poon Seed Oil ประกอบด้วยกรดไขมันซึ่งอยู่ในรูป glyceride และกรดไขมันอิสระ นอกจากนี้ ยังมีเรซินอีกด้วย น้ำมันที่ได้ใช้ทำสบู่ จุดตะเกียง เนื่องจากมีเรซินอยู่ในน้ำมันในเมล็ดหลังจากบีบน้ำมันแล้วนำไปใช้ทำปุ๋ยหมัก เปลือกต้นมีแทนนินอยู่ประมาณร้อยละ 19 สิ่งสกัดด้วยน้ำจากเปลือกใช้ล้างแผล ยางทำให้อาเจียน และถ่ายอย่างรุนแรง


โทษ : ใบมีสารซึ่งเมื่อสลายตัวแล้วให้ hydrocyanic acid เป็นพิษต่อปลา และมนุษย์ ยางทำให้อาเจียน และถ่ายอย่างรุนแรง


ข้อมูลเพิ่มเติม