เกล็ดกระโห้
Clusia rosea Jacq.,
CLUSIACEAE (GUTTIFERAE)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
: ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่
สูงได้ถึง 20 ม.
ทุกส่วนมียางสีเหลือง
เปลือกเรียบ ใบเดี่ยว
เรียงตรงข้าม
รูปไข่กลับ กว้าง 3.5-8 ซม.
ยาว 7-14 ซม. ปลายมนกว้าง
โคนสอบ ขอบหนา แผ่นใบหนา
ด้านบนเรียบไม่เห็น
เส้นใบ
หรือเห็นเพียงรางๆ
ด้านล่างเห็นเส้นกลางใบชัด
เส้นแขนงใบเป็นเส้นละเอียด
ก้านใบยาว 1-2 ซม.
มีรอยบุ๋มที่โคนก้านเห็นได้ชัด
ดอกเดี่ยว
ออกตามง่ามใบ
หรือปลายกิ่ง กิ่งละ 2-3
ดอก ใบประดับ 2-4 ใบ
เล็กกว่ากลีบเลี้ยง
กลีบเลี้ยง 4-6 กลีบ
แยกกัน ยาวประมาณ 2 ซม.
กลีบดอก 6-8 กลีบ แยกกัน
สีขาว หรือชมพู
รูปไข่กลับ
หรือเกือบกลม กว้าง 1-2 ซม.
ยา 3-4 ซม. ดอกแยกเพศ
ดอกเพศผู้มีเกสรเพศผู้โดยรอบเรียงกันหลายชั้นเกสรที่สมบูรณ์อยู่ตอนใน
และติดกันเป็นรูปถ้วย
ดอกเพศเมียมีเกสรเพศผู้ไม่สมบูรณ์ติดกันเป็นรูปถ้วย
รังไข่กลม
ไม่มีก้านเกสรเพศเมีย
ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น
รัศมี 6-9 แฉก ผลแก่แล้วแตก
สีเขียวอมน้ำตาล
ภายในสีอ่อนกว่า
มีเมล็ดบางๆ
ติดอยู่กับแกนกลาง
เนื้อนุ่ม
มีเยื่อสีแดงเข้มหุ้มเมล็ด
ถิ่นกำเนิด : -
การกระจายพันธุ์ :
หมู่เกาะเวสต์อินดิส
การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย
: -
สภาพนิเวศน์ : -
เวลาออกดอก : -
เวลาออกผล : -
การขยายพันธุ์ :
การตอน
ความเกี่ยวข้องกับประเพณี
วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ :
-
อ้างอิง : 1)
ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช
อักษร ก. กรุงเทพมหานคร:
เพื่อนพิมพ์.