กะทังหัน
Calophyllum thorelii
Pierre, CLUSIACEAE (GUTTIFERAE)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
: ไม้ต้นขนาดใหญ่
สูงได้ถึง 35 ม. ลำต้นเปลา
เรือนยอดเป็นพุ่มกลม
เปลือกสีเทาอมชมพู
แตกป็นร่องตามทางยาว
มียางเหลืองซึมออกมาแห้งติดตามเปลือก
กิ่งเป็นเหลี่ยม
ค่อนข้างแบน
มีช่องอากาศกระจายอยู่ห่างๆ
กิ่งอ่อนมีเกล็ดสีน้ำตาลอมเหลือง
กิ่งแก่เกลี้ยง
ระหว่างง่ามของคู่ใบตามปลายกิ่งมีตาคล้ายรูปพีระมิด
ยาวประมาณ 2 มม.
มีขนสีน้ำตาลเหลือง ใบเดี่ยว
เรียงตรงข้าม
รูปรอบขนาน
หรือรูปขอบขนานแกมรี
กว้าง 3-5.5 ซม. ยาว 8-17 ซม. ปลาย
และโคนแหลม
ขอบเรียบแต่เป็นคลื่นชัดเจน
เส้นแขนงใบตรง ขนาน
และเรียงถี่ชิดติดกันจำนวนมาก
เส้นกลางใบด้านบนเป็นร่องจนถึงประมาณกึ่งกลางใบ
แผ่นใบหนา
ใบแห้งด้านบนสีเทาแกมสีมะกอก
เป็นมัน
ด้านล่างสีน้ำตาลอ่อน
ก้านใบยาว 1.8-3.3 ซม. ช่อดอกออกตามปลายกิ่ง
ยาว 9-12 ซม.
แตกแขนงเล็กน้อย
มีเกล็ดสีน้ำตาลอมเหลืองทั่วไป
มีดอกจำนวนมาก กลิ่นหอม
ก้านดอกยาว 0.7-1.5 ซม.
กลีบรวม 8-10 กลีบ
เรียงเป็นวง วงละ 4-5 กลีบ
กลีบสีขาว ยาว 0.6-1.1 ซม.
มีเกสรเพศผู้จำนวนมาก
ก้านชูอับเรณูเป็นฝอย
ออกแน่นเป็นกระจุกตรงกลางดอกคลุมรังไข่จนมิดชิด
ผลสีเขียว รูปไข่
กว้าง 1.1-1.8 ซม. ยาว 2-3 ซม.
เมื่อแห้งเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอมม่วง
ผิวย่น มีเมล็ดแข็งรูปกระสวย 1
เมล็ด ยาว 1.6-2.5 ซม.
ถิ่นกำเนิด : -
การกระจายพันธุ์ :
ภูมิภาคอินโดจีน
การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย
:
ภาคตะวันออกเฉียงใต้
และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สภาพนิเวศน์ : ขึ้นตามป่าดิบและเชิงเขา
และพื้นที่บนภูเขา
เวลาออกดอก : -
เวลาออกผล : -
การขยายพันธุ์ : -
ความเกี่ยวข้องกับประเพณี
วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ :
-
อ้างอิง : 1)
ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช
อักษร ก. กรุงเทพมหานคร:
เพื่อนพิมพ์.