กุหลาบปารากวัย
Graptopetalum paraguayense (N.E. Br.) E. Walther, CRASSULACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 30 ซม. ใบเรียงเวียนซ้อนกันหลวมๆ คล้ายดอกกุหลาบ เมื่อต้นสูงขึ้นใบที่อยู่โคนต้น จะหลุดร่วงไปเหลือแต่ใบใกล้ๆ ยอด สีเขียวอ่อน รูปใบหอกกลับ ปลายแหลม ยาว 5-8 ซม. แบนหนาและอวบน้ำ ด้านล่างเป็นสันนูนเหมือนท้องเรือ ด้านบนตรงกลางเป็นร่องเล็กน้อย เมื่อปลูกกลางแจ้งใบจะเป็นสีม่วงอ่อน ช่อดอกออกตามง่ามใบ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอกสีขาว มีจุดสีแดงเป็นแถบตามขวางของกลีบ โคนติดกัน ปลายแยกเป็นกลีบรูปไข่ 5 กลีบ แผ่กางออก เกสรเพศผู้ 10 อัน


ถิ่นกำเนิด : เม็กซิโก


การกระจายพันธุ์ : -


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : -


สภาพนิเวศน์ : -


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : ปักชำใบหรือยอด


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.