กระจูด
Lepironia articulata (Retz.) Domin, CYPERACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกสองปีี เหง้าสีน้ำตาล ลำต้นกลม ตั้งตรง สูงประมาณ 45 ซม. อาจสูงได้ถึง 2 ม. ส่วนโคนใหญ่กว่าส่วนปลายซึ่งเรียวแหลม โคนต้นมีกาบหุ้ม กาบในยาวกว่ากาบนอก ลำต้นกลวง มีผนังกั้นตามขวางเป็นช่องๆ ช่องที่โคนใบใหญ่กว่าที่ปลาย ไม่มีใบ ช่อดอกออกทางด้านข้างก่อนถึงปลายลำต้น ลักษณะเป็นกระจุกกลมรี กว้างประมาณ 1 ซม. ยาว 1-2 ซม. ดอกเล็กสีน้ำตาล เป็นดอกสมบูรณ์เพศ เกิดอยู่ระหว่างกาบดอก (glume) ซึ่งเรียงตัวกันแบบสลับโดยรอบ เกสรเพศผู้ 7-10 อัน เกสรเพศเมียมีก้านยาวเป็นเส้นต่อจากรังไข่ ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 2 แฉก ผลรูปรี ปลายป้าน โคนแหลม ผลแก่สีน้ำตาล ที่ปลายมีก้านเกสรเพศเมียติดอยู่


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : ทวีปเอเชียเขตร้อนบริเวณคาบสมุทรอินโดจีน เกาะบอร์เนียว เกาะสุมาตรา ตามชายฝั่งตะวันออกของทวีปออสเตรเลีย หมู่เกาะฟิจิ และเกาะมาดากัสการ์ ปลูกในสาธารณรัฐประชาชนจีนและเกาะบอร์เนียว


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ปลูกมากทางภาคใต้


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นในที่ต่ำน้ำขังตามหนองบึง


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : แยกเหง้าที่แตกหน่อแล้วนำไปปลูกในบ่อหรือสระใหญ่ๆ ที่มีโคลนเลนก้นสระ ให้มีน้ำขังประมาณ 30 ซม. ประมาณ 1 ปี กระจูดจะโตเต็มที่ ตัดไปตากแดดให้แห้ง แล้วลอกกาบที่โคนลำต้นออกทิ้ง นำลำต้นไปใช้ประโยชน์ได้


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.