กระบาก
Anisoptera costata
Korth., DIPTEROCARPACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
: ไม้ต้นขนาดใหญ่
สูง 20-30 ม.
เรือนยอดเป็นพุ่มกลม
ลำต้นเปลา
โคนต้นมักเป็นพอน
เปลือกหนาสีน้ำตาลแกมเทา
แตกเป็นร่องเป็นสะเก็ด
เปลือกในเป็นชั้นๆ
สีเหลืองอ่อนปนน้ำตาล
กระพี้สีขาวปนเหลือง
แก่นสีน้ำตาลอมเหลืองอ่อนจนถึงน้ำตาลคล้ำ
ใบเดี่ยว
เรียงสลับ รูปไข่กลับ
หรือรูปขอบขนาน กว้าง 3-8
ซม. ยาว 6-17 ซม.
ปลายมนหรือแหลมเป็นติ่งสั้นๆ
โคนมนหรือเว้าเล็กน้อย
ส่วนใหญ่โคนใบแคบกว่าปลายใบ
ขอบเรียบ
เส้นแขนงใบข้างละ 12-19
เส้น
ปลายเส้นจรดกันก่อนถึงขอบใบ
แผ่นใบหนา
ด้านบนเกลี้ยง
ด้านล่างมีขนสีน้ำตาลอมเหลือง
ก้านใบยาว 1.3-1.6 ซม. ช่อดอกแบบช่อกระจะ
ออกตามง่ามใบและปลายกิ่ง
ยาวประมาณ 10 ซม. ดอกเล็ก
สีขาวอมเหลือง
เมื่อบานเต็มที่เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ
1 ซม. ก้านช่อดอก ก้านดอก
และกลีบเลี้ยงมีขนนุ่ม
กลีบเลี้ยง 5 กลีบ
เรียวแหลม
ความยาวของกลีบไล่เลี่ยกัน
โคนติดกันเป็นหลอด
โคนหลอดเชื่อมติดกับฐานรังไข่
กลีบดอก 5 กลีบ
เรียงซ้อนเวียนกัน
เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก
อับเรณูรูปขอบขนาน
ยาวประมาณ 2 มม. รังไข่มี 3
ช่อง แต่ละช่องมีออวุล 2
เม็ด ผลกลม มีปีก
เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ
1 ซม. ปีกยาวรูปไข่กลับ มี
1 คู่ กว้าง 1-2 ซม. ยาว 3-10 ซม.
โคนสอบเรียว
เส้นปีกตามยาว 3 เส้น
เห็นเด่นชัด ปีกสั้นมี 3
ปีก เรียวแหลม ยาวประมาณ
1.5 ซม.
หลอดกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกับผิวของผล
ถิ่นกำเนิด : -
การกระจายพันธุ์ :
พม่า ภูมิภาคอินโดจีน
มาเลเซีย และฟิลิปปินส์
การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย
: ทั่วทุกภาค
สภาพนิเวศน์ :
ขึ้นตามลาดเขาและริมลำธารในป่าดิบแล้ง
ป่าเบญจพรรณชื้น
บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล
100-400 ม.
เวลาออกดอก :
เดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์
เวลาออกผล : -
การขยายพันธุ์ : -
ความเกี่ยวข้องกับประเพณี
วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ :
-
อ้างอิง : 1)
ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช
อักษร ก. กรุงเทพมหานคร:
เพื่อนพิมพ์.