กระบากทอง
Anisoptera curtisii Dyer
ex King, DIPTEROCARPACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
: ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่
สูง 15-30 ม. ลำต้นเปลา
เรือนยอดเป็นพุ่มกลม
เปลือกสีน้ำตาลแกมเทา
แข็งและแตกเป็นร่องลึกไปตามยาวของลำต้น
ตกชันสีขาว
กิ่งอ่อนและใบอ่อนมีขนเป็นกระจุกแน่น
ใบเดี่ยวเรียงสลับ
รูปรี รูปไข่กลับ
หรือรูปขอบขนาน กว้าง 3-5.5
ซม. ยาว 5-9.5 ซม. ปลายใบกว้าง
ปลายสุดแหลมเป็นติ่งสั้นๆ
และมักหักพับไปทางใดทางหนึ่ง
โคนมนหรือเว้าเล็กน้อย
ขอบเรียบ
แผ่นใบค่อนข้างหนา
ด้านบนเกลี้ยง
เมื่อแห้งสีน้ำตาลอมแดง
เส้นกลางใบเป็นร่องลึก
ด้านล่างมีขนนุ่มหรือเกลี้ยงและมีเกล็ดสีเหลือง
เมื่อแห้งสีค่อนข้างเหลือง
เส้นแขนงใบข้างละ 12-20
เส้น
ค่อนข้างตรงและปลายเส้นจรดกันก่อนถึงขอบใบ
ก้านใบยาว 1.5-3.5 ซม.
มีขนเป็นกระจุกทั่วไป ช่อดอกแบบช่อกระจะ
ยาวไม่เกิน 15 ซม. ห้อยลง
ช่อหนึ่งๆ มี 3-10 ดอก
กลีบเลี้ยงแหลมและมีขนเป็นกระจุกทั่วไป
กลีบดอกสีขาว รูปใบหอก
ยาวประมาณ 5 มม.
มักบิดเบี้ยวและปลายกลีบพับกลับ
เกสรเพศผู้มีประมาณ 25
อัน รังไข่ค่อนข้างกลม ผลกลม
เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ
1.3 ซม. ปลายเป็นติ่งแหลม
มีปีกยาวรูปใบพาย 2 ปีก
เส้นปีก 3 เส้น
ถิ่นกำเนิด : -
การกระจายพันธุ์ :
พม่า มาเลเซีย สุมาตรา
และบอร์เนียว
การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย
: ภาคใต้
สภาพนิเวศน์ :
ขึ้นตามป่าดิบบริเวณใกล้ริมน้ำ
บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ
100 ม.
เวลาออกดอก : -
เวลาออกผล : -
การขยายพันธุ์ : -
ความเกี่ยวข้องกับประเพณี
วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ :
-
อ้างอิง : 1)
ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช
อักษร ก. กรุงเทพมหานคร:
เพื่อนพิมพ์.