กระบกกรัง


ชื่อพื้นเมือง : กระบกกรัง ตะเคียนหนู (น่าน), กระบากดำ (ตรัง), ตะเคียนขี้ไก่ (พังงา), ปราง (กำแพงเพชร), หงอนไก่ (สุราษฎร์ธานี, ตรัง), หงอนไก่หลังขาว (สุราษฎร์ธานี)


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hopea helferi (Dyer) Brandis


ชื่อวงศ์ : DIPTEROCARPACEAE


ชื่อสามัญ : -


ลักษณะ : ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15-30 ม. เรือนยอดรูปกรวยคว่ำหรือรูปทรงกระบอก ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน ขนาดไม่ค่อยแน่นอนนัก ปลายมนหรือหยักคอดเป็นติ่งแหลมสั้นๆ โคนเบี้ยวและหยักเว้า เส้นแขนงใบข้างละ 12-15 เส้น เส้นใบย่อยแบบขั้นบันได ใบอ่อนสีน้ำตาลอมม่วง ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกรวมกันเป็นช่อใหญ่ตามง่ามใบและตามปลายกิ่ง ดอกเล็ก สีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม เรียงเป็นแนวเดียวกันบนก้านแขนงช่อ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 5 กลีบ กลีบดอกเรียงซ้อนเวียนกันคล้ายกังหัน ผลเล็ก รูปไข่ มีปีกยาว 2 ปีก ปีกสั้น 3 ปีก ปีกยาวมีเส้นตามยาวของปีก 7 เส้น เมล็ดแข็ง รูปไข่


ประโยชน์ : เนื้อไม้ละเอียดปานกลาง แข็ง เหนียว เสี้ยนหยาบ ไสกบตกแต่งค่อนข้างยาก ขัดเงาได้ดีพอสมควร นิยมใช้ในการก่อสร้างที่อยู่ในร่ม เช่น เสา คาน รอด ตง


โทษ : -


ข้อมูลเพิ่มเติม