กะลิง


ชื่อพื้นเมือง : ดำดง (ปราจีนบุรี), ทะยิง (นครนายก), พลับ (ระนอง), โมฬี (จันทบุรี), ไม้ดำ (นนทบุรี), ไม้เนียน (ตรัง), กะลิง


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Di
ospyros pilosanthera Blanco


ชื่อวงศ์ : EBENACEAE


ชื่อสามัญ :
-


ลักษณะ : ไม้ต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 20 ม. เปลือกนอกสีดำ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน กว้าง 3-8 ซม. ยาว 8-20 ซม. ปลายสอบมน โคนมนหรือสอบ แผ่นใบค่อนข้างบาง ใบอ่อนมีขนนุ่มและจะค่อยๆ ร่วงไป ดอกแยกเพศ อยู่ต่างต้น ดอกเพศผู้เป็นช่อสั้น ออกตามง่ามใบ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 4-5 กลีบ กลีบเลี้ยงยาว 3-4 มม. เกสรเพศผู้ 8-16 อัน อับเรณูมีขนแซมตามแนวกลาง อาจมีรังไข่ไม่สมบูรณ์ที่มีขนประปรายทางด้านนอก ดอกเพศเมีย สีขาวอมเหลือง ออกเดี่ยวๆ หรือออกเป็นช่อสั้นๆ ตามกิ่งเหนือรอยแผลใบ ทั้งกลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 4-5 กลีบ ลักษณะเหมือนดอกเพศผู้ แต่ใหญ่กว่า ก้านดอกสั้นมากหรือมองไม่เห็น รังไข่ป้อม มีขนสั้นหนาแน่น มี 8-10 ช่อง แต่ละช่องมีออวุล 1 เม็ด ก้านเกสรเพศเมียมีอันเดียวและมีขนสั้นๆ แน่น เกสรเพศผู้ไม่สมบูรณ์ 4-6 อัน ผลป้อมหรือรูปไข่ ปลายมนหรือบุ๋มเล็กน้อย ผลอ่อนมีขนสั้นๆ แน่น และจะร่วงไปเมื่อผลแก่ ก้านผลยาว 2-3 มม. เมล็ดแข็ง รูปจันทร์เสี้ยวหรือรูปไต


ประโยชน์ : เนื้อไม้ใช้เป็นสิ่งปลูกสร้างภายในร่ม และทำเครื่องตกแต่งบ้านทั่วๆ ไป


โทษ : -


ข้อมูลเพิ่มเติม