กาลน
ชื่อพื้นเมือง :
กุนเถื่อน (นครศรีธรรมราช),
ค่อม (ราชบุรี), ดีงู (พังงา),
ทวย ทุย แหร (ตรัง),
เบียดใหญ่ หมากดูกหิน (ภาคกลาง),
มันส้ม (เพชรบูรณ์),
มุ่นดอย ลน (สุราษฎร์ธานี),
เมียดดอยหมาย, เหมือดดอย
(ภาคเหนือ), กาลน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Elaeocarpus
floribundus Blume
ชื่อวงศ์ : ELAEOCARPACEAE
ชื่อสามัญ : -
ลักษณะ : ไม้ต้นขนาดกลาง
สูง 12-25 ม.
กิ่งอ่อนมีขนประปราย ใบเดี่ยว
เรียงเวียนรอบ
รูปขอบขนาน รูปรี
หรือรูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน
ปลายแหลมหรือแหลมยาว
โคนเบี้ยว แหลมหรือมน
ขอบจักห่างๆ
แผ่นใบมีต่อมกระจัดกระจายทั่วไป
มีขนประปราย
ตามเส้นกลางใบทั้ง 2
ด้าน หูใบร่วงง่าย
ใบที่ร่วงหล่นเป็นสีอิฐ
ช่อดอกไม่แยกแขนง
ออกตามง่ามใบที่ใบร่วงไปแล้ว
ช่อดอกแต่ละช่อจึงเรียงเวียนรอบอยู่ใกล้กันใต้กลุ่มใบ
ช่อดอกมีขนเล็กน้อย ดอกสีขาว
กลีบเลี้ยง 5 กลีบ แยกกัน
รูปใบหอก
ด้านนอกมีขนประปราย
ด้านในมีขนเฉพาะตามแนว
เส้นกลางกลีบ กลีบดอก 5
กลีบ แยกกัน รูปไข่กลับ
ปลายกลีบจักเป็นครุยลึกลงมาประมาณครึ่งหนึ่งของความยาวกลีบดอก
ขอบกลีบตอนล่างเรียงมีขนประปราย
เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก
เป็นกระจุก
รังไข่มีขนเล็กน้อย
ล้อมรอบด้วยฐานดอก
โคนก้านเกสรเพศเมียมีขน
ผลรูปไข่แกมรี
ผิวแข็ง
มีจุดสีเหลืองกระจัดกระจาย
มีเมล็ดใหญ่แข็ง รูปรี 1
เมล็ด
ประโยชน์ : -
โทษ : -