กาลน
Elaeocarpus floribundus Blume,
ELAEOCARPACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
: ไม้ต้นขนาดกลาง
สูง 12-25 ม.
กิ่งอ่อนมีขนประปราย ใบเดี่ยว
เรียงเวียนรอบ
รูปขอบขนาน รูปรี
หรือรูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน
กว้าง 3-7 ซม. ยาว 8-17 ซม.
ปลายแหลมหรือแหลมยาว
โคนเบี้ยว แหลมหรือมน
ขอบจักห่างๆ
แผ่นใบมีต่อมกระจัดกระจายทั่วไป
มีขนประปราย
ตามเส้นกลางใบทั้ง 2
ด้าน เส้นแขนงใบข้างละ 6-8
เส้น ก้านใบยาว 2-4 ซม.
มีขนเล็กน้อย
หรือเกลี้ยง
หูใบร่วงง่าย
ใบที่ร่วงหล่นเป็นสีอิฐ
ช่อดอกไม่แยกแขนง
ยาว 8-20 ซม.
ออกตามง่ามใบที่ใบร่วงไปแล้ว
ช่อดอกแต่ละช่อจึงเรียงเวียนรอบอยู่ใกล้กันใต้กลุ่มใบ
ช่อดอกมีขนเล็กน้อย
ดอกสีขาว ก้านดอกยาว 4-8
มม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ
แยกกัน รูปใบหอก
ยาวประมาณ 4 มม.
ด้านนอกมีขนประปราย
ด้านในมีขนเฉพาะตามแนว
เส้นกลางกลีบ กลีบดอก 5
กลีบ แยกกัน รูปไข่กลับ
กว้างประมาณ 2 มม.
ยาวประมาณ 5 มม.
ปลายกลีบจักเป็นครุยลึกลงมาประมาณครึ่งหนึ่งของความยาวกลีบดอก
ขอบกลีบตอนล่างเรียงมีขนประปราย
เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก
เป็นกระจุก
รังไข่มีขนเล็กน้อย
ล้อมรอบด้วยฐานดอก
โคนก้านเกสรเพศเมียมีขน
ผลรูปไข่แกมรี
กว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 3-3.5 ซม.
ผิวแข็ง
มีจุดสีเหลืองกระจัดกระจาย
มีเมล็ดใหญ่แข็ง รูปรี 1
เมล็ด ก้านผลยาวประมาณ 1ซม.
ถิ่นกำเนิด :
การกระจายพันธุ์ :
อินเดีย พม่า ลาว
กัมพูชา มาเลเซีย
และอินโดนีเซีย
การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย
: ทั่วทุกภาค
สภาพนิเวศน์ :
ขึ้นบนพื้นที่ใกล้น้ำตามป่าเบญจพรรณชื้น
ชายป่าดิบตามที่ราบต่ำ
และขึ้นห่างๆ
ตามป่าดิบที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ
1,500 ม.
เวลาออกดอก :
กุมภาพันธ์-มิถุนายน
เวลาออกผล :
กุมภาพันธ์-มิถุนายน
การขยายพันธุ์ : -
ความเกี่ยวข้องกับประเพณี
วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ :
-
อ้างอิง : 1)
ราชบัณฑิตยสถาน. 2538.
อนุกรมวิธานพืช อักษร ก.
กรุงเทพมหานคร:
เพื่อนพิมพ์.