กะทัง
Litsea monopetala (Roxb.) Pers., LAURACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ไม่ผลัดใบหรือผลัดใบเป็นบางส่วนในระยะเวลาสั้น สูง 10-15 ม. เปลือกเรียบหรือขรุขระเล็กน้อย สีเทา กิ่งอ่อนมีขนสีเหลืองอ่อน ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปรี รูปไข่กลับ หรือรูปรีแกมรูปไข่กลับ กว้าง 4-9 ซม. ยาว 8-20 ซม. ปลายมนหรือแหลมเล็กน้อย โคนแหลม มนหรือเว้าเล็กน้อย ขอบเรียบ เส้นแขนงใบข้างละประมาณ 16 เส้น แผ่นใบด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีเขียวอ่อน มีขนนุ่มสีเหลืองอ่อนประปราย เส้นกลางใบและเส้นแขนงใบเห็นชัดเจน ก้านใบยาว 1-3 ซม. มีขนประปรายหรือเกลี้ยง ใบเมื่อขยี้มีกลิ่นเหม็น ช่อดอกแบบช่อแยกแขนงสั้นๆ ออกเป็นกระจุกตามกิ่งด้านข้างและตามง่ามใบ แกนช่อดอกยาว 2-4 มม. มีขน มีใบประดับ 4-6 ใบ ดอกมี 4-8 ดอกแยกเพศ สีเหลืองอ่อน เมื่อบานกว้างประมาณ 8 มม. ก้านดอกยาว 4-7 มม. กลีบรวมโคนติดกันคล้ายรูปถ้วยตื้นๆ ปลายแยกเป็น 5-6 กลีบ ดอกเพศผู้มีเกสรเพศผู้จำนวนมาก ออกเป็นกลุ่ม ก้านชูอับเรณูมีขนยาว อับเรณูแตกออกเป็นช่องมีฝาเปิด ผลรูปไข่หรือรูปรี ยาว 0.8-1.2 ซม. ติดอยู่บนฐานรูปถ้วยซึ่งเจริญมาจากกลีบรวม ผลสุกสีดำ มีเมล็ดแข็ง 1 เมล็ด


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : อินเดีย พม่า จีนตอนใต้ ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซีย และอินโดนีเซีย


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ภาคใต้และภาคตะวันตกเฉียงใต้


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นตามที่โล่งของป่าดิบ บริเวณลำธาร ป่าเบญจพรรณ และป่ารุ่นที่ชุ่มชื้นทั่วไป บนพื้นที่ราบและตามลาดเขา


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.