กะตังใบ
Leea indica (ฺBurm.f.)
Merr., LEEACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
: ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก
สูง 2-10 ม.
ลำต้นค่อนข้างเกลี้ยงหรือมีขนบ้างเล็กน้อย
ใบประกอบแบบขนนกสองถึงสามชั้น
ขนาดใหญ่ เรียงสลับ
แกนกลางใบประกอบยาว 10-30
ซม. ก้านใบประกอบยาว 10-25
ซม. หูใบรูปไข่กลับ
กว้าง 2-4 ซม. ยาวได้ถึง 6 ซม.
เห็นชัดเจนขณะใบยังอ่อน
และร่วงง่ายเมื่อใบแก่เหลือไว้เฉพาะรอยแผลรูปสามเหลี่ยม
ใบย่อยรูปรี รูปไข่
หรือรูปขอบขนาน กว้าง 3-12
ซม. ยาว 8-24 ซม. ปลายแหลม
โคนแหลมเล็กน้อยหรือมน
ขอบจักแหลม
แผ่นใบเกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อย
มีเส้นแขนงใบข้างละ 6-16
เส้น
ก้านใบย่อยยาวไม่เกิน 2.5
ซม. ช่อดอกใหญ่ ยาว
10-25 ซม. ดอกเล็ก
สีขาวอมเขียวหรือขาวอมเหลือง
กลีบเลี้ยงติดกันเป็นรูปถ้วย
ปลายแยกเป็น 5 กลีบ
กลีบดอกส่วนล่างติดกัน
ด้านในเชื่อมติดกับส่วนของเกสรเพศผู้
ส่วนบนแยกเป็นกลีบเรียว
5 กลีบ เกสรเพศผู้ 5 อัน
รังไข่มี 6 ช่อง
แต่ละช่องมีออวุล 1 เม็ด ผลกลม
ด้านบนแบน
เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5-1 ซม.
เมล็ดรูปไข่
ถิ่นกำเนิด : -
การกระจายพันธุ์ :
อินเดีย เนปาล พม่า
บังกลาเทศ พม่า
ภูมิภาคอินโดจีน
ภูมิภาคมาเลเซีย
จนถึงออสเตรเลียและฟิจิ
การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย
: ทั่วทุกภาค
สภาพนิเวศน์ :
พบตามป่าดิบและป่าผลัดใบ
บนพื้นที่ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนถึงสูงประมาณ
1,400 ม.
เวลาออกดอก : -
เวลาออกผล : -
การขยายพันธุ์ : -
ความเกี่ยวข้องกับประเพณี
วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ :
-
อ้างอิง : 1)
ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช
อักษร ก. กรุงเทพมหานคร:
เพื่อนพิมพ์.