พญารากหล่อ
ชื่อพื้นเมือง
: พญารากหล่อ (สระบุรี),
กาสัก ว่านพญากาสัก (ภาคกลาง),
เขืองหูช้าง เขืองหูม้า
(ภาคเหนือ), ตองต้วบ (แม่ฮ่องสอน),
ตองสาก (ตาก), ตาลปัตรฤาษี
ผึ่งหูช้าง เสือนั่งร่ม
(ราชบุรี), แคะมูรา
ทุโครพะดุ ทุคลุพะโด่ะ
โมรา (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน),
จากผักชี (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Leea
macrophylla Roxb. ex Hornem.
ชื่อวงศ์ : LEEACEAE
ชื่อสามัญ : -
ลักษณะ : ไม้พุ่ม
สูง 1-2 ม. มีเหง้าอวบ ใบเดี่ยวหรืออาจเป็นใบประกอบ
เรียงสลับ
รูปไข่หรือรูปสามเหลี่ยม
ปลายแหลม โคนรูปหัวใจ
ขอบหยักซี่ฟันหรือจักฟันเลื่อย
และมักเป็นหยักซี่ฟันซ้อนหรือจักฟันเลื่อยซ้อน
แผ่นใบเป็น 3 แฉกใหญ่
โคนก้านใบที่ปลายกิ่งมีหูใบใหญ่ค่อนข้างแบน
2 อัน หุ้มยอดอ่อนไว้
หูใบรูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน
หูใบเมื่อแก่จัดหลุดเป็นห่วงคล้องรอบโคนกิ่ง
ช่อดอกออกตามง่ามใบและปลายยอดเป็นช่อใหญ่
ดอกเล็ก มีจำนวนมาก
สีขาวอมเขียวหรือเขียวอ่อน
กลีบเลี้ยงโคนติดกันคล้ายถ้วย
ขอบหยักรูปสามเหลี่ยมปลายมน
5 หยัก
กลีบดอกสีขาวอมเขียว
โคนติดกันเป็นหลอด
ปลายแยก 5 กลีบ
รูปขอบขนาน
ปลายกลีบแหลม
เกสรเพศผู้ 5 อัน
รังไข่เล็กมาก ผลกลมแบน
มี 3-6 เมล็ด เมล็ดค่อนข้างกลม
ประโยชน์ :
ปลูกเป็นไม้ประดับ
พม่าใช้รากเป็นยาฝาดสมาน
โทษ : -